การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA)
แบบวัด IIT
Internal Integrity and Transparency Assessment
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment: IIT) เป็นแบบวัดที่ให้ผู้ตอบเลือกตัวเลือกคำตอบตามการรับรู้หรือประสบการณ์ของตนเอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลการรับรู้จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน ที่มีต่อหน่วยงานตนเอง ใน 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดการปฏิบัติหน้าที่ ตัวชี้วัดการใช้งบประมาณ ตัวชี้วัดการใช้อำนาจ ตัวชี้วัดการใช้ทรัพย์สินของราชการ และตัวชี้วัดการแก้ไขปัญหาการทุจริต
ขอเชิญ บุคลากร มทส. ที่ปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยประเมินตามแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (แบบวัด IIT)
รายละเอียดที่ http://www.sut.ac.th/2012/sutita/index.php/iit/ (ภายใน 1 กรกฎาคม 2567)
แบบวัด EIT
External Integrity and Transparency Assessment
แบบวัด EIT External Integrity and Transparency Assessment แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment: EIT) เป็นแบบวัดที่ให้ผู้ตอบเลือกตัวเลือกคำตอบตามการรับรู้ของตนเอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกที่มีต่อหน่วยงานที่ประเมิน ใน 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดคุณภาพการดำเนินงาน ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการสื่อสาร และตัวชี้วัดการปรับปรุงระบบการทำงาน
ขอเชิญนักศึกษา ผู้ประกอบการ ผู้รับบริการกับ มทส. เข้าร่วมการประเมินโดยการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (แบบวัด EIT)
รายละเอียดที่ http://www.sut.ac.th/2012/sutita/index.php/eit/ (ภายใน 1 กรกฎาคม 2567)
แบบวัด OIT
Open Data Integrity and Transparency Assessment
แบบวัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment: OIT) เป็นแบบวัดที่ให้หน่วยงานแสดงหลักฐานว่ามีการเปิดเผยข้อมูลตามที่กำหนดต่อสาธารณชน ผ่านการระบุ URL ที่เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ของหน่วยงานลงในระบบ ITAS โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลจากเว็บไซต์ของหน่วยงาน และทำการประเมินระดับการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะของหน่วยงานที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากเว็บไซต์หลักของหน่วยงานใน 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดการเปิดเผยข้อมูล (ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัดย่อย ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐาน การบริหารงาน การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล และการส่งเสริมความโปร่งใส) และตัวชี้วัดการป้องกันการทุจริต (ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัดย่อย ได้แก่ การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต และมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส)
การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ 2567
ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลพื้นฐาน
แสดงแผนผังแสดงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของหน่วยงานประกอบด้วยตำแหน่งที่สำคัญ และการแบ่งส่วนงานภายใน เช่น สำนัก กอง ศูนย์ ฝ่าย ส่วน กลุ่ม เป็นต้น
โครงสร้างการบริหารแยกตามหน่วยงาน
- แสดงข้อมูลของผู้บริหารสูงสุด และ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการบริหารของหน่วยงาน อย่างน้อยประกอบด้วย ผู้บริหารสูงสุดและรองผู้บริหารสูงสุด
- แสดงข้อมูล อย่างน้อยประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง รูปถ่าย และช่องทางการติดต่อของผู้บริหารแต่ละคน
- ระดับมหาวิทยาลัย
อธิการบดี
รองอธิการบดี
ผู้ช่วยอธิการบดี
--------------------------- - ระดับสำนักวิชา
คณบดี รองคณบดี
--------------------------- - ระดับศูนย์
ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ
--------------------------- - หัวหน้าสถาน / โครงการ
--------------------------- - หัวหน้าส่วน/สำนักงาน
แสดงข้อมูลหน้าที่และอำนาจของหน่วยงานตามที่กฎหมายกำหนด
อำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีพ.ศ. 2533
แสดงข้อมูลการติดต่อ ดังนี้
- ที่อยู่หน่วยงาน
- หมายเลขโทรศัพท์
- ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
- แผนที่ตั้ง
ที่อยู่มหาวิทยาลัย หมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์ แผนที่
การประชาสัมพันธ์
- แสดงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่หรือภารกิจของหน่วยงาน
- เป็นข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2566
ข่าวประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย ข่าวเด่น/ข่าวเผยแพร่
ข่าวประกาศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ข่าวกิจกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
การปฏิสัมพันธ์ข้อมูล
- แสดงตำแหน่งบนเว็บไซต์ของหน่วยงานที่บุคคลภายนอกสามารถสอบถามข้อมูลต่าง ๆ ได้ และหน่วยงานสามารถสื่อสารให้คำตอบกับผู้สอบถามได้ โดยมีลักษณะเป็นการสื่อสารได้สองทาง ทางหน้าเว็บไซต์ของหน่วยงาน (Q&A) ยกตัวอย่างเช่น Messenger Live Chat, Chatbot เป็นต้น
- สามารถเชื่อมโยงไปยังช่องทางข้างต้นได้จากเว็บไซต์หลักของหน่วยงาน
การติดต่อสอบถามมหาวิทยาลัยออนไลน์
ข้อมูลการติดต่อรายบุคคล พร้อมกล่องข้อความถามตอบออนไลน์
Messenger สอบถามศูนย์บริการการศึกษา
Messenger สอบถามศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา
Messenger สอบถามศูนย์กิจการนานาชาติ
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.2 การบริหารงาน และงบประมาณ
แผนการดำเนินงานและงบประมาณ
- แสดงแผนการดำเนินภารกิจของหน่วยงานที่มีระยะมากกว่า 1 ปี ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย
(1) ยุทธศาสตร์หรือแนวทาง
(2) เป้าหมายของแต่ละยุทธศาสตร์หรือแนวทาง
(3) ตัวชี้วัดของเป้าหมายตาม (2)
- เป็นแผนที่มีระยะเวลาบังคับใช้ครอบคลุมปี พ.ศ. 2567
แผนพัฒนา มทส. ระยะที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) ฉบับย่อ
แผนพัฒนา มทส. ระยะที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) ฉบับย่อ ไฟล์ Excel
แผนพัฒนา มทส. ระยะที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) ฉบับเต็ม
- แสดงแผนการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน ประจำปี พ.ศ. 2567 ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย
(1) โครงการหรือกิจกรรม
(2) ผลผลิตของแต่ละโครงการหรือกิจกรรม
(3) งบประมาณที่ใช้แต่ละโครงการหรือกิจกรรม
(4) ระยะเวลาในการดำเนินงานแต่ละโครงการหรือกิจกรรม
- แสดงผลความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2567 ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567 ที่มีเนื้อหาหรือรายละเอียดความก้าวหน้า อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) ผลการดำเนินงานของแต่ละโครงการ/กิจกรรม
(2) ผลการใช้จ่ายงบประมาณที่ใช้ดำเนินงานแต่ละโครงการ/กิจกรรม
แผนการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน (pdf)
แผนการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน (Excel)
- แสดงผลการดำเนินงานตามแผนดำเนินงานประจำปี ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย
- (1) ผลการดำเนินงานของแต่ละโครงการ/กิจกรรม
(2) งบประมาณที่ได้รับจัดสรรและผลการใช้จ่ายงบประมาณที่ใช้ดำเนินงานแต่ละโครงการ/กิจกรรม
(3) ระยะเวลาในการดำเนินงานแต่ละโครงการ/กิจกรรม (ระบุเป็น วัน เดือน ปีที่เริ่มและสิ้นสุดการดำเนินการ)
(4) ปัญหา/อุปสรรค
(5) ข้อเสนอแนะ - เป็นรายงานผลของปี พ.ศ. 2566
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2566 (PDF)
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2566 (Excel)
การปฏิบัติงาน
- แสดงคู่มือหรือแนวทางการปฏิบัติงานที่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานใช้ยึดถือปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน* ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย
- (1) ชื่องาน
(2) วิธีการขั้นตอนการปฏิบัติงาน
(3) ระยะเวลาการปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอน
(4) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง* กรณีมีองค์กรกลางที่มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติในเรื่องนั้น หน่วยงานสามารถนำข้อมูลดังกล่าวเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงานได้ แต่จะต้องมีองค์ประกอบด้านข้อมูลครบตามที่กำหนด อย่างน้อย 3 งาน
งานรับ-ส่งหนังสือภายในมหาวิทยาลัย (ระบบ Boffice)
งานรับ-ส่งหนังสือภายนอกมหาวิทยาลัย (ระบบ Boffice)
การจัดซื้อจัดจ้าง โดยวิธีเฉพาะเจาะจง มาตรา 56(2) (ข)
การให้บริการและการติดต่อประสานงาน
- แสดงคู่มือการให้บริการหรือแนวทางการปฏิบัติที่ผู้รับบริการหรือผู้มาติดต่อกับหน่วยงานใช้เป็นข้อมูลในการขอรับบริการหรือติดต่อกับหน่วยงาน* ที่มีรายละเอียดของแต่ละงาน อย่างน้อยประกอบด้วย
- (1) ชื่องาน
(2) วิธีการขั้นตอนการให้บริการ
(3) ระยะเวลาแต่ละขั้นตอน
(4) ช่องทางให้บริการ เช่น สถานที่ ส่วนงานที่รับผิดชอบ E-service One Stop Service
(5) ค่าธรรมเนียม (กรณีไม่มีค่าธรรมเนียม
ให้ระบุว่า “ไม่มีค่าธรรมเนียม”)
(6) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง* กรณีมีองค์กรกลางที่มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานการให้บริการในเรื่องนั้น หน่วยงานสามารถนำข้อมูลดังกล่าวเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงานได้ แต่จะต้องมีองค์ประกอบด้านข้อมูลครบตามที่กำหนด อย่างน้อย 3 งาน
การรับสมัครสมาชิกสถานกีฬาและสุขภาพ
SOP การดำเนินงานทุนเงินยืม มทส.
SOP การสมัครงานสหกิจศึกษาต่างประเทศ
- แสดงข้อมูลสถิติการให้บริการตามภารกิจของหน่วยงาน ที่มีรายละเอียดของแต่ละงาน อย่างน้อยประกอบด้วย
- (1) จำนวนผู้รับบริการที่เข้ามารับบริการ ณ จุดให้บริการ (Walk-in)
(2) จำนวนผู้รับบริการผ่านช่องทาง E-Serviceเป็นข้อมูลสถิติของปี พ.ศ. 2566
* สถิติความถี่ขั้นต่ำเป็นรายเดือน
สถิติการให้บริการของศูนย์บริการการศึกษา ปี พ.ศ. 2566
- แสดงระบบการให้บริการ ผ่านช่องทางออนไลน์* ที่ผู้ขอรับบริการไม่ต้องเดินทางมายังจุดให้บริการ
- แสดงรายละเอียดวิธีการใช้งานระบบการให้บริการ
- สามารถเข้าถึงหรือเชื่อมโยงไปยังช่องทางข้างต้นได้จากเว็บไซต์หลักของหน่วยงาน
* ไม่รวมถึงช่องทางการถาม - ตอบ (Q&A) หรือสื่อสารตามปกติแบบออนไลน์ของหน่วยงาน
ระบบทะเบียนและประเมินผลนักศึกษา
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.3 การจัดซื้อจัดจ้าง
- แสดงรายการการจัดซื้อจัดจ้างฯ ของหน่วยงานในประเภทงบรายจ่ายหมวดงบลงทุนที่จะมีการดำเนินการในปี พ.ศ. 2567 ทุกรายการ ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย
(1) งานที่ซื้อหรือจ้าง
(2) วงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร (บาท)
(3) แหล่งที่มาของงบประมาณ
(4) วิธีการที่จะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างฯ
(5) ช่วงเวลาที่คาดว่าจะเริ่มดำเนินการ
- แสดงแผนการจัดซื้อจัดจ้างฯ ของหน่วยงานตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560*
- แสดงประกาศการจัดซื้อจัดจ้างฯ ของหน่วยงานตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ยกตัวอย่างเช่น ประกาศเชิญชวน ประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้าง
- เป็นข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างฯ ในปี พ.ศ. 2567
* กรณีไม่มีการจัดจ้างฯ ที่มีวงเงินเกิน 5 แสนบาทหรือที่กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้างฯ ให้หน่วยงานอธิบายเพิ่มเติมโดยละเอียด หรือเผยแพร่ว่าไม่มีการจัดซื้อจัดจ้างฯในกรณีดังกล่าว
แผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
https://drive.google.com/file/d/1Kk5Ff1ZI6836L6ZV33RcMiV6iBY9j1dc/view
ระบบ e-Gp
https://web.sut.ac.th/dps/2015/
ประกาศการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
http://web.sut.ac.th/dps/2015/
-
- แสดงความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้างฯ ของหน่วยงานที่มีการลงนามในสัญญาแล้ว ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567 ที่มีรายละเอียด อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) งานที่ซื้อหรือจ้าง
(2) วงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร (บาท)
(3) แหล่งที่มาของงบประมาณ
(4) สถานะการจัดซื้อจัดจ้างฯ
(5) วิธีการจัดซื้อจัดจ้างฯ
(6) ราคากลาง (บาท)
(7) ราคาที่ตกลงซื้อหรือจ้าง (บาท)
(8) เลขประจำตัวผู้เสียภาษี/เลขประจำตัวประชาชนของผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดเลือก
(9) รายชื่อผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดเลือก
(10) เลขที่โครงการ
(11) วันที่ลงนามในสัญญา
(12) วันสิ้นสุดสัญญา
เป็นข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างฯ ในปี พ.ศ. 2567
ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง
- แสดงรายงานสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างฯ ของหน่วยงาน ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย
(1) จำนวนรายการจัดซื้อจัดจ้างฯ จำแนกตามวิธีการจัดซื้อจัดจ้างฯ
(2) งบประมาณที่ใช้ในการจัดซื้อจัดจ้างฯ จำแนกตามวิธีการจัดซื้อจัดจ้างฯ (บาท)
(3) ปัญหา/อุปสรรค
(4) ข้อเสนอแนะ
- แสดงผลการจัดซื้อจัดจ้างฯ ของหน่วยงานที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย
(1) งานที่ซื้อหรือจ้าง
(2) วงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร (บาท)
(3) แหล่งที่มาของงบประมาณ
(4) สถานะการจัดซื้อจัดจ้างฯ
(5) วิธีการจัดซื้อจัดจ้างฯ
(6) ราคากลาง (บาท)
(7) ราคาที่ตกลงซื้อหรือจ้าง (บาท)
(8) เลขประจำตัวผู้เสียภาษี/เลขประจำตัวประชาชนของผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดเลือก
(9) รายชื่อผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดเลือก
(10) เลขที่โครงการ
(11) วันที่ลงนามในสัญญา
(12) วันสิ้นสุดสัญญา
เป็นรายงานผลของปี พ.ศ. 2566
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.4 กํารบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
- แสดงแผนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย
(1) โครงการหรือกิจกรรม
(2) งบประมาณที่ใช้แต่ละโครงการหรือกิจกรรม
(3) ระยะเวลาในการดำเนินการแต่ละโครงการหรือกิจกรรม
- เป็นแผนฯ ที่มีความครอบคลุมทั้งด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลและด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2567
แผนปฏิบัติการ การบริหารทรัพยากรบุคคล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
- แสดงผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย
(1) โครงการหรือกิจกรรม
(2) ผลการดำเนินการของแต่ละโครงการ/กิจกรรม
(3) งบประมาณที่ได้รับจัดสรรและผลการใช้จ่ายงบประมาณที่ใช้ดำเนินการแต่ละโครงการ/กิจกรรม
(4) ระยะเวลาในการดำเนินการ (ระบุเป็น วัน เดือน ปีที่เริ่มและสิ้นสุดการดำเนินการ)
(5) ข้อมูลสถิติอัตรากำลัง จำแนกตามประเภทตำแหน่ง
(6) ข้อมูลสถิติจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมหรือพัฒนาทรัพยากรบุคคล
(7) ปัญหา/อุปสรรค
(8) ข้อเสนอแนะ
- เป็นรายงานผลของปี พ.ศ. 2566
รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
- แสดงประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ*
*กรณีประมวลจริยธรรมจะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562
ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา บุคลากรและผู้ปฏิบัติงานอื่นในสถาบันอุดมศึกษา
ข้อบังคับ มทส. ว่าด้วยประมวลจริยธรรม พ.ศ. 2564
- แสดงผลการเสริมสร้างมาตรฐานทางจริยธรรมให้แก่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย
(1) การจัดตั้งทีมให้คำปรึกษาตอบคำถามทางจริยธรรมหรือคณะทำงานขับเคลื่อนเรื่องจริยธรรม โดยให้แสดงเป็นคำสั่งแต่งตั้งที่เป็นทางการ
(2) แนวปฏิบัติ Dos & Don’ts เพื่อลดความสับสนเกี่ยวกับพฤติกรรมสีเทาและเป็นแนวทางในการประพฤติตนทางจริยธรรม ที่จัดทำขึ้นโดยหน่วยงาน
(3) การฝึกอบรมที่มีการสอดแทรกสาระด้านจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐในหลักสูตร หรือ กิจกรรมเสริมสร้าง/ส่งเสริมจริยธรรมที่ดำเนินการโดยหน่วยงาน ในปี พ.ศ. 2567
คำสั่ง มทส. ที่ 509/2566 แต่งตั้งคณะทำงานส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม มทส.
เอกสารประกอบการฝึกอบรมด้านจริยธรรม
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.5 การส่งเสริมความโปร่งใส
การจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
- แสดงคู่มือหรือแนวทางการดำเนินการต่อเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย
(1) รายละเอียดของข้อมูลที่ผู้ร้องควรรู้เพื่อใช้ในการร้องเรียน เช่น ชื่อ-สกุลของผู้ถูกร้อง ช่วงเวลาการกระทำความผิด พฤติการณ์การทุจริตและประพฤติมิชอบ
(2) ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
(3) ขั้นตอนหรือวิธีการในการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
(4) ส่วนงานที่รับผิดชอบ
(5) ระยะเวลาดำเนินการ
คู่มือการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐาน (SOP) เรื่อง การจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
ประกาศ มทส. เรื่อง มาตรการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
- แสดงช่องทางออนไลน์ที่บุคคลภายนอกสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน โดยต้องแยกต่างหากจากช่องทางการร้องเรียนทั่วไป
- เป็นช่องทางที่มีการคุ้มครองข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสสามารถเข้าถึงหรือเชื่อมโยงไปยังช่องทางข้างต้นได้จากเว็บไซต์หลักของหน่วยงาน
- แสดงข้อมูลสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย
(1) จำนวนเรื่องร้องเรียนทั้งหมด
(2) จำนวนเรื่องที่ดำเนินการแล้วเสร็จ
(3) จำนวนเรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
- เป็นข้อมูลของปี พ.ศ. 2566
* สถิติความถี่ขั้นต่ำเป็นรายเดือน
ข้อมูลสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริต ปี 2561-2566
ข้อมูลสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
- แสดงผลการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย
(1) ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม
(2) สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม
(3) ผลจากการมีส่วนร่วม
(4) การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงาน
- เป็นการดำเนินการโดยหน่วยงาน ในปี พ.ศ. 2567
รายงานผลการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน
ตัวชี้วัดที่ 10 การป้องกันการทุจริต
ตัวชี้วัดย่อยที่ 10.1 การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริตใยประเด็นสินบน
นโยบาย No Gift Policy
- เป็นประกาศฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ* อย่างเป็นทางการที่ลงนามโดยผู้บริหารสูงสุด ที่ดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ. 2567
- มีวัตถุประสงค์เพื่อประกาศว่าผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคนในหน่วยงานจะไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดในขณะ/ก่อน/หลังปฏิบัติหน้าที่ ที่จะส่งผลให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบ
- เป็นการประกาศสำหรับปี พ.ศ. 2567
* การประกาศฯ ให้ประกาศในทุกปีงบประมาณ (ถึงแม้ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานยังเป็นบุคคลเดิม)
นโยบายไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
- แสดงการดำเนินกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปลุกจิตสำนึกหรือสร้างวัฒนธรรมให้เจ้าหน้าที่ในการปฏิเสธการรับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่
- เป็นการดำเนินกิจกรรมในลักษณะการประชุม การสัมมนา เพื่อถ่ายทอดหรือมอบนโยบาย หรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ
เป็นการดำเนินการโดยหน่วยงาน ในปี พ.ศ. 2567
มทส. แสดงเจตจำนงต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน พร้อมประกาศเจตนารมณ์ No Gift Policy
มทส. จัดกิจกรรมสร้างความเข้าใจในการป้องกันการทุจริต การดำเนินการตามนโยบาย No Gift Policy
มทส. จัด Show & Share การปรับปรุงพัฒนา การดำเนินงานหรือการให้บริการ ของหน่วยงาน
โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเพื่อศึกษาแนวทางในการป้องกันการทุจริต
- แสดงรายงานการรับของขวัญและของกำนัลตามนโยบาย No Gift Policy จากการปฏิบัติหน้าที่ สำหรับหน่วยงาน
- เป็นรายงานผลในภาพรวมของหน่วยงาน ในปี พ.ศ. 2566
รายงานการรับของขวัญและของกำนัลตามนโยบาย No Gift Policy จากการปฏิบัติหน้าที่
- แสดงรายงานการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาสำหรับหน่วยงาน ตามมาตรา 128 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
- เป็นรายงานผลในภาพรวมของหน่วยงาน ในปี พ.ศ. 2566
รายงานการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาสำหรับหน่วยงาน
การประเมินความเสี่ยงเพื่อป้องกันการทุจริต
- แสดงผลการประเมินความเสี่ยงการทุจริตในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสินบนของการดำเนินงานหรือการปฏิบัติหน้าที่ ตามภารกิจของหน่วยงาน อย่างน้อยประกอบด้วยประเด็นดังต่อไปนี้
(1) การอนุมัติ อนุญาต ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558*
(2) การใช้อำนาจตามกฎหมาย/การให้บริการตามภารกิจ
(3) การจัดซื้อจัดจ้าง
(4) การบริหารงานบุคคล
- ในการประเมินความเสี่ยงการทุจริตแต่ละประเด็น ต้องมีรายละเอียด อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) เหตุการณ์ความเสี่ยงและระดับของความเสี่ยง
(2) มาตรการในการบริหารจัดการความเสี่ยง
- เป็นการดำเนินการในปี พ.ศ. 2567
* กรณีหน่วยงานที่ไม่มีภารกิจการอนุมัติ อนุญาต ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ให้ระบุว่า “ไม่มีความเสี่ยงการทุจริตในประเด็นการรับสินบนในกระบวนงานอนุมัติ อนุญาต เนื่องจากหน่วยงานไม่มีภารกิจการอนุมัติ อนุญาต ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558”
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสินบน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
- แสดงผลการประเมินความเสี่ยงและผลการดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปี พ.ศ. 2566 ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย
(1) เหตุการณ์ความเสี่ยงและระดับของความเสี่ยง
(2) มาตรการในการบริหารจัดการความเสี่ยง
(3) ผลการดำเนินการตามมาตรการหรือการดำเนินการเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยง
รายงานผลการดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต ประจำปี พ.ศ. 2566
ตัวชี้วัดย่อย 10.2 การส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส
แผนป้องกันการทุจริต
- แสดงแผนปฏิบัติการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการทุจริตหรือส่งเสริมมาตรฐานจริยธรรม หรือธรรมาภิบาลที่จัดทำโดยหน่วยงาน ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย
(1) โครงการ/กิจกรรม
(2) งบประมาณแต่ละโครงการ/กิจกรรม*
(3) ระยะเวลาดำเนินการแต่ละโครงการ/กิจกรรม
- เป็นแผนที่มีระยะเวลาบังคับใช้ครอบคลุมปี พ.ศ. 2567
*กรณีการดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่ไม่ใช้งบประมาณ ให้ระบุในแผนว่าไม่ได้ใช้งบประมาณดำเนินการ
แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
- แสดงผลการดำเนินการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการทุจริตหรือส่งเสริมมาตรฐานจริยธรรม หรือธรรมาภิบาล ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย
(1) ผลดำเนินการแต่ละโครงการ/กิจกรรม
(2) รายละเอียดงบประมาณที่ใช้ดำเนินการแต่ละโครงการ/กิจกรรม*
(3) ปัญหา/อุปสรรค
(4) ข้อเสนอแนะ
- เป็นรายงานผลของปี พ.ศ. 2566
*กรณีการดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่ไม่ใช้งบประมาณ ให้ระบุในผลว่าไม่ได้ใช้งบประมาณดำเนินการ
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
- แสดงการวิเคราะห์ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ในปี พ.ศ. 2566* ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วยประเด็น ดังต่อไปนี้
(1) กระบวนการปฏิบัติงานที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ
(2) การให้บริการและระบบ E-Service
(3) ช่องทางและรูปแบบการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารภาครัฐ
(4) กระบวนการกำกับดูแลการใช้ทรัพย์สินของราชการ
(5) กระบวนการสร้างความโปร่งใสในการใช้งบประมาณและการจัดซื้อจัดจ้าง
(6) กระบวนการควบคุม ตรวจสอบการใช้อำนาจและการบริหารงานบุคคล
(7) กลไกและมาตรการในการแก้ไขและป้องกันการทุจริตภายในหน่วยงาน
- แสดงการกำหนดวิธีการนำผลการวิเคราะห์แต่ละประเด็นไปสู่การปฏิบัติ* ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย
(1) วิธีการนำผลการวิเคราะห์ไปสู่การปฏิบัติ
(2) การกำหนดผู้รับผิดชอบหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
(3) การกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการปฏิบัติ
(4) ระยะเวลา
- แสดงการวิเคราะห์ข้อจำกัดของหน่วยงานในการดำเนินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
* กรณีหน่วยงานที่เข้าร่วมการประเมินฯ เป็นครั้งแรก ให้หน่วยงานวิเคราะห์ตามประเด็นที่กำหนดโดยคำนึงถึงบริบทและการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงาน
อยู่ระหว่างดำเนินการ
- แสดงผลการดำเนินการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงานตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน* ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย
(1) มาตรการหรือกิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
(2) สรุปผลการดำเนินการตามมาตรการหรือกิจกรรม
(3) ผลลัพธ์หรือความสำเร็จของการดำเนินการ
- เป็นการดำเนินการในปี พ.ศ. 2566
* กรณีหน่วยงานที่เข้าร่วมการประเมินฯ เป็นครั้งแรก ให้หน่วยงานรายงานตามประเด็นที่กำหนดโดยคำนึงถึงบริบทและการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงาน
จัดทำรายงานตามข้อ o35 เรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างนำขึ้นเว็บไซต์