ไทย-จีน ผนึกกำลังสร้างสรรค์ผลงานวิจัยด้านฟิสิกส์พลังงานสูงและฟิสิกส์ดาราศาสตร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ร่วมกับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ Central China Normal University ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการร่วมด้านฟิสิกส์พลังงานสูงและฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ครั้งที่ 4 (The 4th Sino-Thai Symposium on High Energy Physics, Astrophysics and Beyond) หรือ STSP-2016 ขึ้น ระหว่างวันที่ 3-8 กรกฎาคม 2559 ณ โรงแรมดวงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นเวทีสำหรับนักฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง ด้านดาราศาสตร์ และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ของจีน และของไทย ได้นำผลงานวิจัยที่มีคุณภาพระดับสากลมาเสนอต่อที่ประชุม และยังเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างนักฟิสิกส์ชาวไทยกับนักฟิสิกส์ชาวจีน ในด้านฟิสิกส์พลังงานสูงและฟิสิกส์ดาราศาสตร์
การประชุม STSP2016 ดังกล่าว ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เป็นประธานในพิธีเปิด และยังได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ศาสตราจารย์ (เกียรติคุณ) ดร.ถิรพัฒน์ วิลัยทอง ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ และศาสตราจารย์ ดร.ซู ไช้ (Xu Cai) ประธานร่วมฝ่ายจีน กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม โอยมี ศาสตราจารย์ ดร.สันติ แม้นศิริ คณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มทส. กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน
ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดี มทส. ในฐานะประธานร่วมฝ่ายไทยในการจัดประชุมวิชาการ STSP2016 กล่าวว่า นับเป็นโชคดีของวงการฟิสิกส์ ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงช่วยให้มีการพัฒนาความร่วมมือระหว่างไทยจีนทางด้านฟิสิกส์ นับเป็นโอกาสในการสร้างโอกาสนักวิจัยไทยในเวทีนานาชาติ การประชุมดังกล่าวนี้มีการจัดประชุมขึ้นทุกสองปี โดยการประชุมครั้งที่ 4 (STSP2016) นี้ ได้เวียนมาโดยฝ่ายไทยเป็นเจ้าภาพจัดที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวจีน ตามรอยภาพยนตร์เรื่อง Lost in Thailand
“การประชุมร่วมในครั้งนี้ มีคณาจารย์ นักวิจัย ตลอดจนนักศึกษาระดับปริญญาเอก ปริญญาโท และปริญญาตรีเข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงาน ทั้งสิ้นกว่า 100 คน ทั้งนี้ มีฝ่ายจีนจำนวน 40 คน นำโดยศาสตราจารย์ ดร.ซู ไช้ ซึ่งเป็นศาสตราจารย์อาวุโสที่มีชื่อเสียงทางด้านฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง นอกจากนี้ ยังมีนักฟิสิกส์จากประเทศเม็กซิโกเข้าร่วมเสนอผลงานในครั้งนี้อีกด้วย ในโอกาสเดียวกันนี้ มทส. ยังได้ร่วมกับ China Institute of Atomic Energy จัดอบรมเชิงปฏิบัติการทางด้านเทคโนโลยีเครื่องกำเนิดนิวตรอนขนาดเล็ก สำหรับการผลิตนิวตรอนเพื่อการวิจัยทางด้านรังสีรักษาจากโบรอนจับยึดนิวตรอน(Boron Neutron Capture Therapy) ในการประชุมครั้งนี้อีกด้วย” อธิการบดี มทส. กล่าวสรุป
ศาสตราจารย์ ดร.ซู ไช้ ประธานร่วมฝ่ายจีน ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของการจัดการประชุมร่วมไทย-จีน STSP ซึ่งในเริ่มต้นจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมและจำนวนผลงานวิจัยที่นำเสนอยังมีน้อย แต่ในการจัดประชุมคราวนี้ซึ่งเป็นครั้งที่ 4 มีผลงานวิจัยจำนวน 56 เรื่องได้รับคัดเลือกให้นำเสนอ โดยผลงานวิจัยจำนวนหนึ่งเป็นผลงานวิจัยร่วม ที่เป็นผลิตผลจากการประชุม STSP ครั้งก่อนๆ ซึ่งนับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี และในอนาคตก็จะมีผลงานวิจัยที่เกิดจากการผนึกกำลังสร้างสรรค์ระหว่างไทยและจีนมากยิ่งขึ้น
ทางด้าน รองศาสตราจารย์ บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ประธานร่วมฝ่ายไทย ได้บรรยายพิเศษถึงความร่วมมือไทยจีนในการวิจัยด้านดาราศาสตร์ และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ซึ่งมีมาอย่างยาวนานก่อนการจัดตั้งสถาบันฯ และการพัฒนาทางด้านดาราศาสตร์ของประเทศไทย และการวิจัยในอนาคต ตลอดจนเครื่องมือ และอุปกรณ์วิจัยทางดาราศาสตร์ของสถาบันที่มีอยู่ในปัจจุบัน และในอนาคต ซึ่งจะเป็นการเสริมประสิทธิภาพการวิจัย และสร้างสรรค์ผลงานวิจัยในระดับสากลให้มากขึ้น ซึ่งในส่วนของดาราศาสตร์นั้นมีการนำเสนอผลงานทั้งฝ่ายไทยและจีน และนอกจากนี้มีการนำเสนอผลงานการพัฒนาเครื่องมือวิจัยทางดาราศาสตร์ชั้นสูง พร้อมกันนี้สถาบันวิจัยได้จัดให้มีการประชุมดาราศาสตร์ไทย (Thai National Astronomy Meeting หรือ TNAM2016) ขึ้น ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 เพื่อระดมความคิดเห็นจากนักดาราศาสตร์ไทยเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษาวิจัยด้านดาราศาสตร์ของไทยอีกด้วย
ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.)
ศาสตราจารย์ ดร.ซู ไช้ ประธานร่วมฝ่ายจีน
รองศาสตราจารย์ บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ประธานร่วมฝ่ายไทย
ศาสตราจารย์ (เกียรติคุณ) ดร.ถิรพัฒน์ วิลัยทอง ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์
ศาสตราจารย์ ดร.สันติ แม้นศิริ คณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์
การอบรมเชิงปฏิบัติการทางด้านเทคโนโลยีเครื่องกำเนิดนิวตรอนขนาดเล็ก สำหรับการผลิตนิวตรอนเพื่อการวิจัยทางด้านรังสีรักษาจากโบรอนจับยึดนิวตรอน(Boron Neutron Capture Therapy)
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
- มทส. จัดงานเชิดชูเกียรติและขอบคุณ ผู้เข้ารับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และผู้รับเข็มกิตติการทองคำ พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2566 25 มีนาคม 2568
- พระราชทานปริญญาบัตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และเข็มกิตติการทองคำ 25 มีนาคม 2568
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา มทส. 25 มีนาคม 2568
- มทส. รับรางวัล “อาจารย์” และ “สถาบัน” ต้นแบบด้านการสอน รางวัลเกียรติยศระดับชาติ จาก ควอท ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 21 มีนาคม 2568
- อธิการบดี มทส. ได้รับคัดเลือกเป็นนิสิตเก่าเคมี จุฬาฯ ดีเด่น ประจำปี 2568 20 มีนาคม 2568
- มทส. ร่วมกับ สมาคมวัสดุประเทศไทย แถลงประกาศผลรางวัล “รางวัลนักวิจัยวัสดุดีเด่น รางวัลนักวิจัยวัสดุรุ่นใหม่ดีเด่น และรางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัยวัสดุ ประจำปี 2567” และการจัดประชุมวิชาการนานาชาติด้านวัสดุศาสตร์ MRS-Thailand 2025 10 มีนาคม 2568
- ขอแสดงความยินดีอาจารย์ มทส. รับทุนวิจัย มูลนิธิโทเร เพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย (TTSF) 07 มีนาคม 2568
- มทส. ติดอันดับ 9 มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำโลก โดย SCImago Institutions Rankings 2025 06 มีนาคม 2568
- มทส. เปิดตัวการประกวดนวัตกรรมเพื่อพัฒนางาน “รางวัลสุรนวัตร” ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวม 160,000 บาท 26 กุมภาพันธ์ 2568
- ขอเชิญร่วมทอดผ้าป่า มทส. ส่งต่อโอกาสเพื่อการศึกษา พร้อมรับของที่ระลึก วัตถุมงคลรุ่น “สุนทรีวาณี-คุณย่าโม” และร่วมออกโรงทาน 11 กุมภาพันธ์ 2568