ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดี เผยถึงความภาคภูมิใจและสัมฤทธิผลที่ปรากฏชัดในการเป็น มหาวิทยาลัยคุณภาพแห่งหนึ่งของประเทศ พร้อมก้าวต่อไป สู่การเป็นมหาวิทยาลัยมาตรฐานโลก

 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) มหาวิทยาลัย แห่งการสร้างสรรค์นวัตกรรม ผู้นำและต้นแบบมหาวิทยาลัยของ ประเทศไทย ทั้งการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งแรก ของประเทศ เป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งแรกของไทย เป็น ผู้นำระบบสหกิจศึกษามาใช้กับอุดมศึกษาของไทยเป็นแห่งแรก สร้างนวัตกรรมทางการเรียนการสอนและการวิจัย จนเป็นที่ ยอมรับทั้งในระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับนานาชาติ

ในโอกาสสถาปนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ครบ 26 ปี ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2559 ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้เผยถึงความภาคภูมิใจและสัมฤทธิผลที่ปรากฏชัดในการเป็น มหาวิทยาลัยคุณภาพแห่งหนึ่งของประเทศ พร้อมก้าวต่อไป สู่การเป็นมหาวิทยาลัยมาตรฐานโลก

สัมฤทธิผลแห่งความสเร็จตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

ความสำเร็จของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มอง ได้เป็น 2 นัยยะ คือ สัมฤทธิผลตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย 5 ประการ ได้แก่ การเรียนการสอน การวิจัย การปรับแปลง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี การบริการวิชาการ และการ ทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งได้ดำเนินการบรรลุตามเป้าหมาย และเกินเป้าหมาย ถึงแม้ว่าในส่วนของการปรับแปลง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี อันเป็นพันธกิจที่เพิ่มเติมแตกต่างจาก สถาบันการศึกษาอื่น ๆ อาจยังไม่เต็มร้อย ยังมีทรัพย์สินทางปัญญาที่รอถ่ายทอดและพัฒนาถึงผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นสถานประกอบการ ภาคอุตสาหกรรม หอการค้า หรือแม้แต่ เกษตรกร พี่น้องประชาชน ยังคงดำเนินการต่อเนื่องเพื่อเป็น สถาบันคู่เคียงสังคมตามที่ได้ประกาศตัวไว้

ส่วนอีกนัยยะหนึ่ง คือ สัมฤทธิผลตามแผนยุทธศาสตร์ ของมหาวิทยาลัย ทั้งยุทธศาสตร์ 10 ปี 5 ปี และ 1 ปี ที่ได้ ดำเนินการตามแผน เต็มแผน และบางครั้งก็เกินแผน แม้ว่าจะ มีปัญหาอุปสรรคอยู่บ้าง เช่น เมื่อปี พ.ศ. 2540 ที่ประเทศไทย ประสบวิกฤติเศรษฐกิจ ส่งผลให้หลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์ สุขภาพ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ ต้องชะลอไว้ อย่างไร ก็ตาม ก็สามารถเปิดรับนักศึกษาแพทย์รุ่นแรกได้ในปีการศึกษา 2549 รับนักศึกษาพยาบาลตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 และ นักศึกษาทันตแพทย์ในปีการศึกษา 2558 ล่าสุดในปีการศึกษา 2559 ยังสามารถเปิดการเรียนการสอนโรงเรียนสุรวิวัฒน์ เพื่อ รองรับการศึกษาค้นคว้าการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ ภาษา เป็นการเชื่อมโยงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ระดับ มัธยมศึกษาอีกด้วย

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ถือได้ว่าประสบความ สำเร็จในเวลาอันรวดเร็ว อันเนื่องมาจากปัญจปัจจัย หรือ ปัจจัย 5 ประการ คือ

1. ภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์ผู้นำหมายรวมถึงกรรมการ สภา ผู้บริหารทุกระดับชั้น ตั้งแต่อธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี หัวหน้าสาขาวิชา หัวหน้าส่วน หัวหน้าฝ่าย ซึ่งล้วนมี บทบาทในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยนี้

2. ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ เรามีทุนมนุษย์ (Human Capital) ที่ดีเยี่ยมและระบบที่เอื้อต่อการครองคนดี คนเก่งไว้ได้ มทส. มีบุคลากรสายวิชาการที่ดำรงตำแหน่งทาง วิชาการในระดับศาสตราจารย์ เมื่อคิดเป็นร้อยละ อยู่ใน Top 5ของสถาบันการศึกษาไทย และมีร้อยละคณาจารย์คุณวุฒิ ปริญญาเอกสูงสุด

3. ระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและความ คล่องตัว เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่ไม่เป็นส่วน ราชการ ดำเนินการภายใต้หลักอัตตาภิบาลและธรรมาธิบาล มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ มีระบบการบริหาร ความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ

 4. มทส. เป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ได้รับจัดสรรงบประมาณ มีห้องสมุด ศูนย์ คอมพิวเตอร์ มีเครื่องมือครุภัณฑ์ทางการศึกษาและวิจัยที่ ทันสมัย และเพียงพอ

5. ความเป็นเอกภาพ ที่เราร่วมคิด ร่วมทำร่วมสร้างสรรค์ ร่วมจรรโลง ยึดโยงด้วยวัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ทำให้แนวคิดการพัฒนา มหาวิทยาลัยเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ศักยภาพของ มทส. ในการเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับประเทศ ระดับเอเชีย และระดับโลก

ศักยภาพและปัจจัยเกื้อกูลที่จะส่งเสริมและผลักดัน ให้ มทส. สู่ความเป็นเลิศ ประการแรก คือ ทรัพยากรมนุษย์ ที่มีศักยภาพสูงและระบบบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดี มีประสิทธิภาพดังกล่าวมาแล้ว

ประการที่สอง เรามีโครงสร้างพื้นฐานที่ทำให้เกิดความ ได้เปรียบสถาบันการศึกษาอื่น ๆ อาทิ การเป็นมหาวิทยาลัย ใหม่ มีเครื่องมือที่ใหม่ ทันสมัย ใช้ในการเรียนการสอนและ การวิจัย อีกทั้งยังมีสถาบันวิจัยแห่งชาติตั้งอยู่ภายในบริเวณ มหาวิทยาลัยถึง 2 สถาบัน ได้แก่ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ซึ่ง สามารถเชื่อมโยงกับหอดูดาวฯ ณ ดอยอินทนนท์ได้ รวมถึง มี ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยรังสีรักษาจากโบรอนจับยึดนิวตรอน (Boron Neutron Capture Therapy: BNCT) ใช้เทคโนโลยี นิวเคลียร์ทางการแพทย์มาใช้รักษามะเร็งในอวัยวะที่ซับซ้อน เช่น สมอง คอ ตับ เป็นต้น นอกจากนี้ มทส. ยังสร้างความสามารถทางโครงสร้างพื้นฐาน โดยร่วมมือกับองค์กร

ต่างประเทศเพื่อใช้เครื่องมือวิจัยระดับสูงที่เรายังไม่มี มทส. นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่เป็นสมาชิก ของ ALICE (A large Ion Collider Experiment) ซึ่งเป็น สถานีวิจัยทดลองแห่งหนึ่งของห้องปฏิบัติการวิจัยเซิร์น (CERN) รวมถึง ความร่วมมือวิจัยด้านนิวตริโนฟิสิกส์ ฟิสิกส์พลังงานสูง เทคโนโลยีนิวเคลียร์ กับสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นสมาชิก Worldwide LHC Computer Grid Network รองรับการ คำนวณขั้นสูง

ประการที่สาม สภามหาวิทยาลัยมีอำนาจในการจัดระบบวางระเบียบการบริหารภายในได้เอง ทำให้พนักงาน ปฏิบัติงานและสร้างผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งสู่การ เป็นองค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization, HPO) กฎ ระเบียบ ที่เหมาะสมจะช่วยอำนวยความสะดวก สนับสนุนและผลักดันต่อการสร้างผลงานวิจัย ดึงดูดนักวิจัย และสร้างแรงจูงใจในการทำวิจัย เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมและ เป็นที่พึ่งของสังคม

และประการสุดท้าย คือ ความได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ มทส. ตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา อยู่บนเส้นทางเชื่องโยงสู่ อาเซียน หรือ ASEAN Connectivity ในฐานะสถาบันการศึกษา จึงมีบทบาทในการสร้างทรัพยากรมนุษย์ งานวิจัย เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม เพื่อรองรับความได้เปรียบนี้และ ส่งเสริมสนับสนุนให้จังหวัดนครราชสีมาเป็นศูนย์กลาง 5 ด้าน คือ ด้านการศึกษา (Education Hub) ด้านสุขภาพ (Medical Hub) ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ (Transportation and Logistic Hub) ด้านอาหาร (Food Hub) ด้านกีฬาและการ ท่องเที่ยว (Sports & Tourism Hub)

26 ปี แห่งความภาคภูมิใจ

จากการร่วมคิดร่วมทำจนปรากฏผลสัมฤทธิ์สู่ความ เป็นเลิศได้ในเวลาอันรวดเร็ว มทส. ได้รับการยอมรับทางด้าน วิชาการ ด้านการประกันคุณภาพทางการศึกษา ผลการจัด อันดับจากองค์กรภายนอกและองค์กรต่างประเทศ มทส. อยู่ ในกลุ่ม 10 อันดับแรกของมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยเสมอ ถึงแม้จะเป็นมหาวิทยาลัยใหม่และมีขนาดเล็ก แต่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพให้เป็น “มหาวิทยาลัยคุณภาพ” แห่งหนึ่งของประเทศ ของเอเชีย และของโลกอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับเอเชีย “QS University Rankings: Asia 2016” การจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก มหาวิทยาลัยชั้นนำประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ “The Times Higher Education BRICS & Emerging Economies Rankings

2016” การจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของเอเชีย “The Times Higher Education Asia University Rankings 2016” การจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก “The Times Higher Education World University Rankings 2015 - 2016” การ จัดอันดับศักยภาพทางวิชาการมหาวิทยาลัยโลก “University Ranking by Academic Performance (URAP) 2015 – 2016” การจัดอันดับคุณภาพวิชาการของมหาวิทยาลัยทั่วโลก “Webometrics 2016” การได้รับการจัดอันดับดีมากของ “Nature Publishing Group and Nature Index” การจัด อันดับความนิยมเข้าติดตามชมเว็บไซต์มหาวิทยาลัยทั่วโลก “The 2016 University Web Rankings (4ICU.org)” เป็นต้น

ด้านสิ่งแวดล้อม มทส. พัฒนาพื้นที่จากป่าเสื่อมโทรม มาเป็น มหาวิทยาลัยเขียวสะอาด ได้รับการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยเขียวโลก “UI GreenMetric World Universities Ranking 2015” เป็นอันดับ 2 ของไทย และอันดับ 52 ของโลก เหล่านี้คือที่ประชากรของ มทส. อันหมายรวมถึง กรรมการ สภามหาวิ ทยาลั ยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ปัจจุบัน บัณฑิต ศิษย์เก่า ตลอดจนผู้เกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผู้ประกอบการ ประชาชนผู้เป็นเจ้าของมหาวิทยาลัยจะได้ ภาคภูมิใจร่วมกัน เราเน้นการเป็นองค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) “คนสำราญ งานสำเร็จ” พนักงานปฏิบัติงาน ด้วยความ “พอใจ ผูกพัน และภักดี”

 

ก้าวต่อไปของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

มทส. ครบ 26 ปี เข้าสู่ปีที่ 27 ซึ่งจะดำเนินการตาม แผนพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) สิ่งที่ มหาวิทยาลัยจะเดินก้าวต่อไป คือ “Global Vision : Local Missions” การสร้างองค์ความรู้ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ เครื่องมือต่าง ๆ ต้องได้มาตรฐานสากล สู่การเป็นมหาวิทยาลัย ระดับโลก หรือ World Class University ในขณะที่ต้อง ดเนินพันธกิจทงานคู่เคียงไปกับชุมชนและสังคม การเป็น มหาวิทยาลัยภูมิภาคนั้น ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกลมเกลียว (harmonization) กับท้องถิ่นมีความสำคัญอย่างยิ่ง กล่าวโดยรวมใน 3 กลุ่มภารกิจหลัก ได้แก่

กลุ่มการเรียนการสอน อยากเห็น มทส. อยู่ในความ นิยมของนักเรียนมัธยมศึกษาระดับภูมิภาคและระดับประเทศที่ ต้องการเรียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับอุดมศึกษา มากยิ่งขึ้น การเรียนการสอนเป็น Active Learning หรือProblem - based Learning หรือ Project - based Learning ให้บัณฑิตคิดนเป็น ส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียน การ เรียนรู้ในสถานประกอบการให้มีทักษะในการท ำงาน ซึ่งเสริมไป กับเรื่องของ “สหกิจศึกษา” การเรียนการสอนแบบผสมผสาน Blended Learning หลักสูตรมีความเป็นนานาชาติ เป็น 2 ภาษา เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศที่ดี โดยเฉพาะเปิดประชาคมอาเซียนแล้ว ส่งผลให้บัณฑิตมี อัตราการได้งานทำที่สูงขึ้น สามารถทำงานได้ในกลุ่มประเทศ อาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชีพเสรีอาเซียน 8 สาขา ได้รับการประเมินความพึงพอใจจากสถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิตสูงขึ้น

กลุ่มวิจัย ซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคือพลัง อำนาจแห่งชาติ งานวิจัยต้องตระหนักถึงความต้องการของ สังคมเป็นสำคัญ ประเทศกำลังขับเคลื่อนไปสู่ Thailand 4.0 เน้นการพึ่งพาตนเอง ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สร้างขึ้นเอง เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน มทส. เป็นมหาวิทยาลัย แห่งการสร้างสรรค์นวัตกรรม ต้องผลิตงานวิจัยที่สร้างสรรค์ มูลค่า (Value Creation) เช่น หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ ระบบขนส่งโดยราง ระบบขนส่งทางอากาศ เทคโนโลยีชีวภาพ ยาและเภสัชภัณฑ์ อุตสาหกรรมดิจิทัล เป็นต้น มทส. ต้องทำการวิจัยที่รองรับความ ต้องการเหล่านี้

ทั้งนี้ ในปี 2558 เฉลิมฉลอง 25 ปี มทส. ได้จัดตั้ง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (SUT-Center of Excellence: SUT-CoE) ขึ้น 5 ศูนย์ ได้แก่ ด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการ เกษตร ด้านวัสดุหน้าที่พิเศษขั้นสูง ด้านฟิสิกส์พลังงานสูงและ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ด้านนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างยั่งยืน และศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านชีวมวล เพื่อเป็นเสาหลักด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัย ในปี 2560 จะจัดตั้งเพิ่มเติม

กลุ่มพันธกิจสัมพันธ์ (University Engagement) โดยรวมเรื่องการปรับแปลง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี และการบริการวิชาการแก่สังคมเข้าด้วยกัน ซึ่งพันธกิจสัมพันธ์ กับองค์กรชุมชน ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร องค์กรรัฐ ธุรกิจเอกชน สโมสรกีฬา สามารถทำกิจกรรมร่วมกันโดยต้องมี 4 ลักษณะ คือ

1) ต้องร่วมคิดร่วมทำเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วน เช่น ร่วมกับ สถานประกอบการจัดการเรียนการสอนสหกิจศึกษา 2) ต้องมีผลประโยชน์ร่วมกันเพื่อให้เกิดความยั่งยืน 3) เกิดการเรียนรู้เกิดผลงานทางวิชาการร่วมกัน 4) ต้องมีผลกระทบเกิดขึ้นร่วมกันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการ Engagement กับบัณฑิตศิษย์เก่า เชื่อมโยงมหาวิทยาลัยกับสมาคมศิษย์เก่า เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันและกลับมาดูแลมหาวิทยาลัย รวมถึง กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ซึ่งเป็นการยืนยันความ เป็นสถาบันคู่เคียงและเป็นที่พึ่งและเป็นสมองของสังคมอย่าง แท้จริง ผมให้ความสำคัญต่อ Engagement กับภาค อุตสาหกรรมและภาครัฐบาล โดย ปัญหาของชาติมาเป็นโจทย์วิจัย เช่น การจัดการขยะชุมชนแบบครบวงจร เทคโนโลยี การเกษตร เทคโนโลยีอาหาร เรามีการวิจัยพัฒนาสายพันธุ์ ไก่เนื้อโคราช การเลี้ยงโคเนื้อโคราชวากิว การปลูกมันสำปะหลัง ที่ให้ผลผลิตสูง สิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญาจำนวนมาก เป็นต้น มหาวิทยาลัยเปิดสอนหลักสูตร “การประกอบการธุรกิจ นวัตกรรมและการออกแบบธุรกิจ” มุ่งมั่นจะปรับบทบาทของ มทส. ให้เป็น Entrepreneurial University ต่อไป

นอกจากนี้ ในอีก 2 ปีข้างหน้า ยังต้องเตรียมแผนการ ขยายโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยจาก 120 เตียง เป็น 920 เตียง พร้อมเครื่องมือที่ทันสมัย ให้บริการประชาชนรองรับการรักษาระดับตติยภูมิของเขตสุขภาพที่ 9 (นครชัยบุรินทร์) ได้ รวมทั้งการเป็นแหล่งผลิตบุคลากรและงานวิจัยทางการแพทย์ ระดับสูง สำหรับโรงเรียนสุรวิวัฒน์นั้น เพิ่งเปิดรับนักเรียนรุ่นแรก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวนประมาณ 60 คน มัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 35 คน ในปีการศึกษา 2559 ยังต้องการการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย มีการกำกับ ดูแลประคับ ประคองอย่างใกล้ชิด ออกแบบการบริหารจัดการ การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน การคัดเลือกบุคลากร นักเรียน การจัดการเรียนการสอนและการศึกษาค้นคว้าการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและภาษา ไปอีกระยะหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม เรายังคง “เหลียวหลัง.. แลหน้า” ระลึกถึง“จิตวิญญาณ หรือ Spirit” ที่มีร่วมกัน มุ่งมั่นที่จะสร้างมหาวิทยาลัยในฝัน และ “ตำนาน หรือ Legend” ที่ธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมคุณภาพและอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยในการเป็นผู้นำและเป็นต้นแบบให้กับวงการอุดมศึกษาของไทย มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันถาวรทางสังคมที่ไม่มีวันสร้างเสร็จ มทส. พร้อมจะขับเคลื่อนองค์กร เพื่อเป็นสถาบันการศึกษา คุณภาพที่ได้มาตรฐานสากล และเป็นสถาบันคู่เคียงสังคม ด้วยก้าวที่กล้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน


ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง