ทีมวิจัย มทส.- ร่วมกับทีมวิจัยประเทศอาหรับเอมิเรตส์ ประสบผลสำเร็จใช้เทคโนโลยีโคลนนิ่ง ได้ลูกอูฐพันธุกรรมเยี่ยม

ทีมวิจัย มทส.- ร่วมกับทีมวิจัยประเทศอาหรับเอมิเรตส์
ประสบผลสำเร็จใช้เทคโนโลยีโคลนนิ่ง ได้ลูกอูฐพันธุกรรมเยี่ยม

   ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีตัวอ่อนและเซลล์ต้นกำเนิด  มทส. ร่วมกับ ทีมวิจัยประเทศอาหรับเอมิเรตส์ ประสบผลสำเร็จในการโคลนนิ่งอูฐจากเซลล์ผิวหนังอูฐเพศผู้พันธุกรรมดีเยี่ยม ได้ลูกอูฐโคลนนิ่งสุขภาพแข็งแรงเกิดมา 2 ตัว พร้อมขยายผลเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีโคลนนิ่งอูฐซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจประจำถิ่น หวังเพิ่มจำนวนอูฐสายพันธุ์ดีเยี่ยมทั้งเพื่อการแข่งขันและประเภทสวยงาม

bitcoin haberleri

 

 

     รองศาสตราจารย์ ดร.รังสรรค์ พาลพ่าย หัวหน้าศูนย์วิจัยเทคโนโลยีตัวอ่อนและเซลล์ต้นกำเนิด สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เปิดเผยว่า “จากการสั่งสมความเชี่ยวชาญ  รวมถึงผลสำเร็จด้านเทคโนโลยีการโคลนนิ่งสัตว์พันธุกรรมดีเยี่ยมของศูนย์วิจัยฯ อาทิ การโคลนนิ่งโคนมโคเนื้อสายพันธุ์ดี โคแรกนาขวัญพันธุ์ขาวลำพูน แพะ สัตว์สงวนหายากของประเทศอย่างแมวดาว  และกระทิง เป็นต้น เหล่านี้ได้สร้างชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและนานาชาติ  กระทั่งล่าสุดห้องปฏิบัติการวิจัย Hayah Genetics Veterinarian Laboratory และ Advanced Scientific Research Group นครอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้ประสานขอความร่วมมือเชิญทีมวิจัย มทส. ร่วมแลกเปลี่ยนถ่ายทอดเทคโนโลยีการโคลนนิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอูฐสายพันธุ์ดี ซึ่งถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจในเขตภูมิภาคดังกล่าว ศูนย์วิจัยฯ มทส. จึงได้ส่งนักวิจัย ประกอบด้วย ดร.กนกวรรณ ศรีรัตนะ นักวิจัยหลังปริญญาเอก และนายสุเมธ ชมพูธวัช นักศึกษาปริญญาเอก เดินทางไปร่วมทำวิจัยโคลนนิ่งอูฐ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562 ถึง เมษายน 2563 ที่ผ่านมา โดยใช้เทคโนโลยีการโคลนนิ่งโคของศูนย์วิจัยฯ เป็นหลัก ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างดีในการเตรียมห้องปฏิบัติการทดลองที่ทันสมัย มูลค่ากว่า 30 ล้านบาท ความพร้อมด้านงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือทดลอง และการมีฟาร์มอูฐขนาดใหญ่ สำหรับการโคลนนิ่งอูฐนี้ ถือเป็นการทดลองครั้งแรกของทีมวิจัย มทส. โดยได้ปรับเทคนิคและกระบวนการบางอย่างเพื่อให้เกิดความเหมาะสม ตั้งแต่ การค้นหาอุณหภูมิและระยะเวลาที่เหมาะสมกับการเก็บรังไข่  การเพาะเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อ การเชื่อมเซลล์ด้วยการกระตุ้นจากกระแสไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งเทคนิคและกระบวนการเหล่านี้จะต้องใช้ทีมวิจัยที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และความอดทนสูงมาก

<div style="display:none">
<a title="eurobahis kiralama" href="https://eurobahiskiralama.site/" rel="dofollow">eurobahis kiralama</a>
<a title="rakipbahis kiralama" href="https://rakipbahiskiralama.site/" rel="dofollow">rakipbahis kiralama</a>
</div>

 

 

    

 

     การวิจัยครั้งนี้ ประสบผลสำเร็จได้อูฐตั้งท้อง 3 ตัว ตามปกติอูฐจะตั้งท้อง 12-13 เดือน ในจำนวนนี้อูฐตัวรับอุ้มท้อง 1 ตัวแท้งลูกเมื่อตั้งท้องมาได้ 11 เดือน โดยเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2564 เวลาท้องถิ่น 22.40 น. แม่อูฐตัวรับได้คลอดลูกอูฐโคลนนิ่งตัวแรกเพศผู้ ซึ่งเกิดจากเซลล์อูฐเพศผู้ชื่อ Jabar และเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2564 เวลาท้องถิ่น 18.40 น. ได้ลูกอูฐโคลนนิ่งตัวที่สองเพศผู้ เกิดจากเซลล์อูฐเพศผู้ชื่อ Majed นับถึงปัจจุบันลูกอูฐโคลนนิ่งทั้ง 2 ตัวมีสุขภาพแข็งแรงดี  ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยได้ทำการตรวจดีเอ็นเอของลูกอูฐโคลนนิ่งทั้งสองตัวแล้ว พบว่าตรงกับของเซลล์ต้นแบบที่นำมาทำโคลนนิ่งทุกประการ ความสำเร็จครั้งนี้ นับเป็นก้าวแรกของการนำเทคโนโลยีโคลนนิ่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  ไปใช้เพื่อเพิ่มจำนวนอูฐพันธุกรรมดีเยี่ยม ซึ่งอูฐถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจในประเทศแถบตะวันออกกลาง นำไปใช้ประโยชน์ตั้งแต่ การบริโภคเนื้อ-นม ใช้เป็นพาหนะเพื่อการขนส่ง เพื่อการวิ่งแข่งขัน และการประกวดสวยงาม เป็นต้น โดยอูฐเพศผู้ที่ชนะเลิศวิ่งแข่งจะมีมูลค่าระหว่าง 5-10 ล้านบาท ส่วนอูฐเพศเมียที่ชนะเลิศในการประกวดความสวยงาม จะมีมูลค่าตัวละ 3-5 ล้านบาท จึงเป็นที่นิยมในการเลี้ยง และสะสมในหมู่ของเจ้าผู้ครองนคร รวมถึงผู้มีฐานะในภูมิภาคดังกล่าว ทั้งนี้ ทีมงานวิจัย มทส. มีแผนไปทำวิจัยและพัฒนาเพิ่มเติมในปลายปี 2564”

 

 Mr. Abdulla N Al Dhaheri ผู้บริหารของ Hayah Genetics Veterinarian Laboratory 
และ Dr. Abdelhaq Anouassi สัตวแพทย์ของ Advanced Scientific Research Group ผู้ทำคลอดกับลูกอูฐโคลนนิ่งตัวแรกอายุ 1 วัน

 

                               Mr. Abdulla N Al Dhaheri กับลูกอูฐโคลนนิ่งตัวแรกอายุ 2 วัน

 


ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง