มทส. ติดอันดับ 5 ร่วม ของมหาวิทยาลัยไทย ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของเอเชียปี 2021 โดย THE

มทส. ติดอันดับ 5 ร่วม ของมหาวิทยาลัยไทย
ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของเอเชียปี 2021 โดย THE

     เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา Times Higher Education (THE) ประเทศอังกฤษ ได้เผยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับเอเชีย ประจำปี ค.ศ. 2021 (Times Higher Education Asia University Rankings 2021) อย่างเป็นทางการ โดยในปีนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ติดอยู่ในกลุ่มอันดับที่ 351-400 มหาวิทยาลัยชั้นนำเอเชีย อยู่ในกลุ่มอันดับ 5 ร่วม ของมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย  และเป็นอันดับที่สองในกลุ่มมหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยี ซึ่งจากผลการจัดอันดับในครั้งนี้ มีมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเพียง 17 มหาวิทยาลัยเท่านั้นที่ได้รับการจัดอันดับ ซึ่งแสดงถึงศักยภาพของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

      รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดี มทส. เผยว่า "จากการประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับเอเชีย ประจำปี 2021 หรือ Times Higher Education Asia University Rankings 2021 โดย Times Higher Education หรือ THE สถาบันจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกชื่อดังจากประเทศอังกฤษ ซึ่งจัดอันดับดังกล่าวเป็นปีที่ 17 ติดต่อกัน ล่าสุด THE ได้ประกาศผลการจัดอันดับ 551 มหาวิทยาลัยชั้นนำของเอเชีย โดยมีมหาวิทยาลัยจาก 30 ประเทศทั่วเอเชียได้รับการจัดอันดับในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยชั้นนำอันดับ 1 ของเอเชีย ยังคงเป็นของ Tsinghua University  ประเทศจีน ได้คะแนนสูงสุด 84.9 คะแนน สำหรับมหาวิทยาลัยของไทย 17 แห่งที่ติดอันดับในครั้งนี้ มีลำดับตามการคูณค่าคะแนนถ่วงน้ำหนัก ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทย ปี 2021 โดย THE Asia University Rankings

สำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของเอเชียแตกต่างจากเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกเล็กน้อย ในส่วนของน้ำหนักตัวชี้วัดหลักและตัวชี้วัดย่อยด้านการสอน การวิจัย และรายได้จากภาคอุตสาหกรรม โดยประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัดหลักและ 13 ตัวชี้วัดย่อย พร้อมน้ำหนักในการคำนวณ ดังแสดงในรูปที่ 1

รูปที่ 1 ตัวชี้วัดของ Times Higher Education Asia University Rankings 2021

(ที่มา: https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings/asia-university-rankings-2021-methodology)

ทั้งนี้ มทส. อยู่ในอันดับที่ 5 ร่วม ของประเทศ โดยมีคะแนนรวมจาก 5 ตัวชี้วัด เท่ากับ 23.50 (จาก 100 คะแนน) เป็นคะแนนด้านการสอน 23.1% ด้านการวิจัย 16.5% ด้านการอ้างอิงผลงานวิจัย 22.1% ด้านความเป็นนานาชาติ 31.4% และด้านรายได้จากภาคอุตสาหกรรม 50.2%

คะแนนรวม และคะแนนในแต่ละด้านของ มทส. ตั้งแต่ ปี 2017-2021 แสดงในรูปที่ 2 และคะแนนของตัวชี้วัดย่อยที่มีแนวโน้มดีขึ้นแสดงในรูปที่ 3 เป็นที่น่ายินดีแม้ว่าคะแนนรวม มทส. ลดลงในปีนี้ แต่ตัวชี้วัดย่อยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการภายในที่สำคัญของ มทส มีแนวโน้มดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการวิจัยที่มีตัวชี้วัด 2 ตัวคือ ผลงานตีพิมพ์ต่ออาจารย์ และรายได้การวิจัยต่ออาจารย์ กระบวนการจัดการเรียนการสอน ตัวชี้วัดอัตราส่วนนักศึกษาต่างชาติ และตัวชี้วัดด้านการเงินคือ รายได้ของสถาบันต่ออาจารย์ และรายได้จากอุตสาหกรรมต่ออาจารย์  ส่วนตัวชี้วัดที่มีแนวโน้มลดลงและมีผลกระทบมากต่อคะแนนรวมคือ ตัวชี้วัดด้านการอ้างอิงผลงานวิจัย เพราะมีสัดส่วนถึงร้อยละ 30

รูปที่ 2 คะแนนรวม และคะแนนในแต่ละด้านของมทส. ปี 2017-2021

 

                  รูปที่ 3 คะแนนของตัวชี้วัดย่อยที่มีแนวโน้มดีขึ้นของ มทส

 

เมื่อเทียบอันดับ ของ มทส. กับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย 10 อันดับแรกย้อนหลัง 5 ปี จะพบว่า มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีอันดับลดลง มีเพียง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเท่านั้นที่มีอันดับดีขึ้น แสดงได้ดังตารางที่ 2

 

ตารางที่ 2 อันดับของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย 10 อันดับแรก ตั้งแต่ปี 2017-2021

 

 

“ผลการจัดอันดับในครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งที่น่ายินดีและน่าภาคภูมิใจอย่างยิ่ง แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของ มทส. ในการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย” อธิการบดี มทส. กล่าวในที่สุด Dualar

 

ข้อมูลเพิ่มเติม ที่ https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings/2021/

ส่วนแผนงาน/ส่วนประชาสัมพันธ์ มทส.
3 มิถุนายน 2564

 

 

 



ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง