มทส. ส่งมอบช่อดอกกัญชา-กัญชงแห้ง ให้กรมการแพทย์แผนไทยฯ เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตยาแผนไทย 2 ตำรับ

มทส. ส่งมอบช่อดอกกัญชา-กัญชงแห้ง ให้กรมการแพทย์แผนไทยฯ เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตยาแผนไทย 2 ตำรับ และเปิดพื้นที่ 28 ไร่ ขยายโรงเรือนกว่า 50 โรง รองรับเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศ
 
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ส่งมอบช่อดอกกัญชา-กัญชงแห้ง กว่า 100 กิโลกรัม ให้กรมการแพทย์ แผนไทยฯ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ตามกระบวนการผลิตยาแผนไทย 2 ตำรับ พร้อมเปิดคลังวัตถุดิบกลางเก็บผลผลิต และเปิดพื้นที่ 28 ไร่ ขยายโรงเรือนปลูกมาตราฐาน 50 โรง รองรับเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนรายใหญ่และรายย่อยจาก ทั่วประเทศที่มีความร่วมมือเข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านกัญชาจาก มทส. อย่างครบวงจรแห่งแรกของประเทศ
 
 
 
.
เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2564 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ชัย จิตตะมัย รองอธิการบดีฝ่ายการเงิน ทรัพย์สิน และวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.หนึ่ง เตียอำรุง คณบดีสำนักวิชาเทคโนโลยี การเกษตร มทส. ศาสตราจารย์ (เกียรติคุณ) ดร.นันทกร บุญเกิด นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการวิจัย “การผลิตกัญชาเชิงคุณภาพเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และเชิงพาณิชย์” ให้การต้อนรับนายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข นำคณะเข้ารับมอบ “ช่อดอกกัญชาพันธุ์ (THC) 100 กิโลกรัมแห้ง และช่อดอกกัญชง(CBD) 10 กิโลกรัมแห้ง” จากมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นวัตถุดิบสำคัญในการแปรรูปผลิตยาแผนไทย 2 ตำรับ คือ ผลิตน้ำมันตำรับเมตตาโอสถ และตำรับการุณย์โอสถ ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสองหน่วยงาน พร้อมนำคณะเข้าตรวจเยี่ยมโรงเรือนปลูกกัญชา-กัญชา ต้นแบบ มทส. ชมกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีกัญชาตั้งแต่กระบวนการคัดแยกสายพันธุ์ การเพาะกล้า การปลูก บำรุงรักษา และเก็บเกี่ยวดูแลผลิตผล รวมทั้งการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์ ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการวิจัย พัฒนา และคิดค้นนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีกัญชาครบวงจรขนาดใหญ่แห่งแรกของประเทศไทยขณะนี้
.
 
 
ในโอกาสนี้ คณะผู้บริหาร มทส.Cure for her stepsister พร้อมคณะอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยฯ ภาคีเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนที่มีความร่วมมือ เข้าตรวจเยี่ยมชมพื้นที่โรงเรือนแปลงปลูกกัญชา-กัญชง ซึ่งมหาวิทยาลัยได้จัดสรรพื้นที่ขนาด 28 ไร่ รองรับการขยายตัวภาคีวิสาหกิจขุมชน โดยระยะแรก ได้สร้างโรงเรือนปลูกกัญชา-กัญชง ระบบมาตรฐาน จำนวน 30 โรงเรือน ซึ่งแต่ละโรงเรือนสามารถปลูกต้นกัญชา-กัญชง แบ่งเป็นกัญชา 200 ต้นต่อโรง และกัญชง 240 ต้นต่อโรง พร้อมเปิดคลังวัตถุดิบกลางเพื่อเก็บผลผลิต มีเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน จำนวน 14 เครือข่าย ทำความร่วมมือในการเข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีกัญชา-กัญชงเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และเชิงพาณิชย์ และในอนาคตระยะที่สอง คาดว่าจะทำการขยายโรงเรือนเป็น 100 โรง เพื่อรับรองภาคีวิสาหกิจรายย่อย ภายใต้การประสานงานความร่วมมือโดยศูนย์บ่มเพาะนวัตกรรม (ICC) ซึ่งมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในการเป็นผู้ประสานงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทั่วประเทศ 
 
 

Bağlama Büyüsü


ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง