คณาจารย์ มทส. ติดกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก จากฐานข้อมูล AD Scientific Index 2023

3 คณาจารย์ มทส. ติดกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก

World’s Top 2% Scientists”

จากฐานข้อมูล AD Scientific Index 2023

 

    คณาจารย์และนักวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ได้รับการจัดอันดับนักวิจัยที่มีศักยภาพระดับมหาวิทยาลัย ระดับประเทศ และระดับโลก จากฐานข้อมูล AD Scientific Index 2023: World Scientist and University Rankings 2023 โดยได้รับการจัดอันดับอยู่ในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ 2% แรกของโลก “World’s Top 2% Scientists” ที่มีผลกระทบการอ้างอิงตลอดชีพสูงสุด (Career-long Citation Impact) จำนวน 3 ราย และกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก ที่ติดอันดับผลกระทบการอ้างอิงเฉพาะปี พ.ศ. 2564 (Citation Impact During the Single Calendar Year 2021) สูงที่สุด จำนวน 45 ราย  

สำหรับนักวิจัยของ มทส. ที่ติดอันดับนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำที่มีผลกระทบการอ้างอิงตลอดชีพสูงสุด จำนวน 3 ราย ได้แก่ 



ผศ. ดร.ชิโนรัตน์ กอบเดช สาขาวิชาฟิสิกส์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ นักวิจัยอันดับที่ 1 ของ มทส. เป็นอันดับที่ 6 ของไทย อันดับที่ 9,332 ของโลก โดยเป็นอันดับที่ 3 ของไทย อันดับที่ 1,260 ของโลก ด้าน Physics (Experimental Particle Physics) และ อันดับที่ 3 ของไทย อันดับที่ 2,294 ของโลก ด้าน Natural Sciences

ศ. ดร.สุขสันติ์ หอพิบูลสุข สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ และหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างยั่งยืน นักวิจัยอันดับที่ 2 ของ มทส. เป็นอันดับที่ 12 ของไทย อันดับที่ 19,486 ของโลก โดยเป็นอันดับที่ 2 ของไทย อันดับที่ 59 ของโลก ด้าน Civil Engineering (Ground Improvement techniques, Chemical Stabilization, PVD, Earth Reinforcement, Recycled Construction and Demolition) และ อันดับที่ 6 ของไทย อันดับที่ 2,802 ของโลก ด้าน Engineering & Technology 

ศ. ดร.สันติ แม้นศิริ สาขาวิชาฟิสิกส์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวัสดุหน้าที่พิเศษขั้นสูง นักวิจัยอันดับที่ 3 ของ มทส. เป็นอันดับที่ 30 ของไทย อันดับที่ 43,867 ของโลกโดยเป็นอันดับที่ 4 ของไทย อันดับที่ 658 ของโลก ด้าน Metallurgical & Materials Engineering (Materials Science and Nanotechnology) และ อันดับที่ 12 ของไทย อันดับที่ 7,171 ของโลก ด้าน Engineering & Technology

 

นอกจากนี้ ยังมีคณาจารย์และนักวิจัยที่ได้รับการจัดอันดับนักวิจัยที่มีศักยภาพในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก ที่ติดอันดับผลกระทบการอ้างอิงเฉพาะปี พ.ศ. 2564 ในครั้งนี้ จำนวน 45 ราย ประกอบด้วย

 

สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

รศ. ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา สาขาวิชาฟิสิกส์

Prof. Dr. James Ketudat-Cairns สาขาวิชาเคมี

ศ. ดร.จตุพร วิทยาคุณ สาขาวิชาเคมี

ผศ. ดร.อัญญานี คำแก้ว สาขาวิชาเคมี

Asst. Prof. Dr.Christoph Herold สาขาวิชาฟิสิกส์

รศ. ดร.พนมศักดิ์ มีมนต์ สาขาวิชาฟิสิกส์

ผศ. ดร.กมลวัช งามเชื้อ สาขาวิชาเคมี

รศ. ดร.สัญชัย ประยูรโภคราช สาขาวิชาเคมี

รศ. ดร.ประยูร ส่งสิริฤทธิกุล สาขาวิชาฟิสิกส์

ผศ. ดร.พงศ์เทพ สุวรรณวารี สาขาวิชาชีววิทยา

รศ. ดร.สินีนาฏ ศิริ สาขาวิชาชีววิทยา

อ. ดร.วิวัฒน์ นวลสิงห์ สาขาวิชาฟิสิกส์

รศ. ดร.สิริโชค จึงถาวรรณ สาขาวิชาฟิสิกส์

Asst. Prof. Dr.Rung Yi Lai สาขาวิชาเคมี

รศ. ทนพญ. ดร.จารุวรรณ ศิริเทพทวี สาขาวิชาเคมี

อ. ดร.ปิยะนุช ปิ่นอยู่ สาขาวิชาเคมี

รศ. ดร.วิสิษฐ์ แววสูงเนิน สาขาวิชาเคมี

รศ. ดร.หนูเดือน เมืองแสน สาขาวิชาชีววิทยา

อ. ดร. ปิยมาศ เพชรเจริญ กนกวงศ์นุวัฒน์ สาขาวิชาชีววิทยา

ผศ. ดร.อรทัย วีระนันทนาพันธ์ สาขาวิชาปรีคลินิก

 

สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

ศ. ภกญ. ดร.มณฑารพ ยมาภัย สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

รศ. ดร.มารินา เกตุทัต-คาร์นส์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

รศ. ดร.ปราโมทย์ แพงคำ สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์

รศ. ดร.เขมวิทย์ จันต๊ะมา สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

รศ. ดร.รัชฎาพร อุ่นศิวิไลย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร

รศ. ดร.จิรวัฒน์ ยงสวัสดิกุล สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร 

 

สำนักวิชาแพทยศาสตร์

รศ. พญ.ชวัลญ์ญา รัตนพิทูลย์ สาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและเวชศาสตร์ชุมชน โดยเป็นอันดับที่ 1 ของไทย ด้าน Family Medicine (Family medicine, community medicine, behavior modification, Parasite)

ผศ. ดร.ณัธคพัชฬ รัตนพิทูลย์ นักวิจัย

อ. ดร.ธีรยา สีมาวรานนท์ สาขาวิชาพยาธิวิทยา

       

สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม

รศ. ดร.บุรทิน ขำภิรัฐ

อ. ดร.สิรินทร ศรีโพธิ์ สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ

 

สำนักวิชาศาสตร์และศิลป์ดิจิทัล

อ. ดร.อรรคพล วงศ์กอบลาภ

 

สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์

ศ. ดร.อวิรุทธิ์ ชินกุลกิจนิวัฒน์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา โดยเป็นอันดับที่ 1 ของไทย ด้าน Soil Sciences and Plant Nutrition (Soil Mechanics)

ผศ. ดร.สัจจากาจ จอมโนนเขวา สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง โดยเป็นอันดับที่ 2 ของไทย ด้าน Transportation Science & Technology (Transportation Engineering, Transportation Safety, Transport Policy)

ผศ. ดร.นิธินาถ ศุภกาญจน์ สาขาวิชาวิศวกรรมพอลิเมอร์

รศ. ดร.นิตยา เกิดประสพ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

ผศ. ดร.เอกรงค์ สุขจิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

รศ. ดร.สุดเขตต์ พจน์ประไพ สาขาวิชาวิศวกรรมเซรามิก

Asst. Prof. Dr.Menglim Hoy สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

รศ. ดร.ปรเมศวร์ ห่อแก้ว สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

รศ. ดร.รังสรรค์ วงศ์สรรค์ สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม

ผศ. ดร.เอกวุฒิ ศิริรักษ์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

ผศ. ดร.รัตน บริสุทธิกุล สาขาวิชาวิศวกรรมโลหการ

 

นักวิจัยโครงการ สังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนา

Dr.Mohammad Hossein Azariyan

ดร.ณัฐวุฒิ โอสระคู

 

อนึ่ง อดีตคณาจารย์ มทส. 3 ราย ที่ได้รับการจัดอันดับนักวิจัยที่มีศักยภาพในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลกในครั้งนี้ด้วย ได้แก่ ศ. ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ สาขาวิชาฟิสิกส์ รศ. ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ สาขาวิชาฟิสิกส์ และ ผศ. ดร.ธนพงษ์ จำปาหอม นักวิจัยโครงการ สังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนา

 

 

สำหรับการจัดอันดับนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก AD Scientific Index (Alper-Doger Scientific Index) พิจารณาจากข้อมูลผลงานตีพิมพ์ จำนวนการอ้างอิง (citation) h-index และ  i10 Index ช่วง 5 ปีสุดท้าย และ 5 ปีสุดท้าย/จำนวนรวมทั้งหมด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของนักวิจัย มทส. ที่ได้รับการจัดอันดับในครั้งนี้ โดยมหาวิทยาลัยมุ่งเน้นสนับสนุนการผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงและสร้างผลกระทบสูงในเชิงเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเป้าหมายสำคัญคือ ก้าวขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ในกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีของประเทศไทย ที่พัฒนาและนำเอานวัตกรรมบนพื้นฐานองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

 

ส่วนประชาสัมพันธ์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

31 ตุลาคม 2565


ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง