มทส. ร่วมกับ มูลนิธิ สอวน. เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 20
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) จัดแถลงข่าว “การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 20” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ ทองระอา อธิการบดี มทส. ให้การต้อนรับ และ รองศาสตราจารย์ ดร.พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนาวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) กล่าวเปิดการแถลงข่าว พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.สันติ แม้นศิริ คณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มทส. และ รองศาสตราจารย์ ดร.หนูเดือน เมืองแสน ผู้แทนหัวหน้าสาขาวิชาชีววิทยา สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มทส. ร่วมให้รายละเอียดการจัดการแข่งขัน เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมสารนิเทศ อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดย ศูนย์ สอวน. มทส. และสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพร่วมกับมูลนิธิ สอวน. ดำเนินการจัดการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 20 (The 20th Thailand Biology Olympiad: 20th TBO) ระหว่างวันที่ 3 – 7 เมษายน พ.ศ. 2566 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา โดยจัดการแข่งขันและคัดเลือกนักเรียนที่ผ่านการอบรมจาก สอวน. ค่าย 2 จำนวนทั้งสิ้น 96 คน ประกอบด้วย นักเรียนตัวแทนจากศูนย์ สอวน. 13 ศูนย์ ทั่วประเทศ และนักเรียนจากค่ายของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ฯ (สสวท.) นอกจากนี้ ยังมีผู้เข้าร่วมการแข่งขัน ได้แก่ คณาจารย์ผู้แทนจากศูนย์ สอวน. ทั้ง 13 ศูนย์ ได้แก่ หัวหน้าทีม รองหัวหน้าทีม และผู้ช่วยหัวหน้าทีม จำนวน 46 คน ครูสังเกตการณ์จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 5 คน คณะกรรมการจากมูลนิธิ สอวน. สสวท. และ สพฐ. นักศึกษาพี่เลี้ยง คณะกรรมการดำเนินงานจากศูนย์เจ้าภาพ และผู้สังเกตการณ์จากศูนย์เจ้าภาพในปีถัดไป รวมจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการกว่า 230 คน
สำหรับการแข่งขันมีทั้งการสอบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติการ โดยใช้ข้อสอบมาตรฐานที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากมูลนิธิ สอวน. คณะกรรมการวิชาการของ มทส. และคณาจารย์ผู้แทนศูนย์ สอวน. ทั้ง 13 ศูนย์ ซึ่งผลคะแนนจากการแข่งขันจะได้รับการพิจารณาจากคณาจารย์ผู้แทนของทุกศูนย์ สอวน. เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและโปร่งใส เกณฑ์คะแนนที่ผ่านมาตรฐานจะถูกพิจารณาจำแนกเป็น 3 ระดับ คือ เหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง นอกจากนี้ ยังมีระดับเกียรติบัตรพิเศษ 7 รางวัล ได้แก่ คะแนนรวมสูงสุด คะแนนภาคทฤษฎีสูงสุด คะแนนภาคปฏิบัติการสูงสุด คะแนนรวมสูงสุดประจำภาคเหนือ คะแนนรวมสูงสุดประจำภาคใต้ คะแนนรวมสูงสุดประจำภาคกลาง และคะแนนรวมสูงสุดประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยนักเรียนผู้มีคะแนนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดจะได้รับสิทธิ์ในการเข้าอบรมกับค่ายของ สสวท. เพื่อคัดเลือกเป็นนักเรียนตัวแทนประเทศไทยในการเข้าร่วมการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับนานาชาติต่อไป นอกเหนือจากการแข่งขันแล้ว ยังมีกิจกรรมทัศนศึกษาเส้นทางธรรมชาติ ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ. - มทส.) ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา อีกด้วย
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
- มทส. อันดับ 10 สถาบันอุดมศึกษาที่ชำระหนี้ กยศ. ดีที่สุดของประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 11 พฤศจิกายน 2567
- มทส. ติด Top 10 ม.ไทย ในการจัดอันดับ ม.ชั้นนำเอเชีย โดย QS World University Rankings: Asia 2025 07 พฤศจิกายน 2567
- รศ. ดร.อัญญานี คำแก้ว อาจารย์ มทส. รับทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” (For Women in Science) ประจำปี 2567 01 พฤศจิกายน 2567
- ตรวจพื้นที่เตรียมการรับเสด็จฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 25 ตุลาคม 2567
- มทส. ติดอันดับ 6 ร่วม ม.ชั้นนำของไทย อยู่ในกลุ่ม TOP 3 ม.ด้านเทคโนโลยี จากการจัดอันดับ THE World University Rankings 2025 09 ตุลาคม 2567
- มทส. คว้า 2 รางวัลผลงานนวัตกรรมเพื่อการพัฒนานักศึกษา ด้านสุขภาพจิตและด้านสุขภาวะ ในงานสัมมนาวิชาการด้านพัฒนานักศึกษา ปี 2567 01 ตุลาคม 2567
- มทส. เปิดตัว ฟาร์มไข่ผำต้นแบบระดับอุตสาหกรรม ขนาดกลางและใหญ่ ยกระดับและเพิ่มมูลค่าไข่ผำเพื่อการผลิตโปรตีนทางเลือกสู่ Super Food 18 กันยายน 2567
- มทส. รับรางวัลเชิดชูเกียรติ จากกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมลดโลกร้อน) 30 สิงหาคม 2567
- ขอเชิญศิษย์เก่า นักศึกษา บุคลากร ร่วมกิจกรรม คืนสู่เหย้า 34 ปี สายใย น้องพี่ เลือดสีแสดทอง ศิษย์ มทส. สัมพันธ์ 29 สิงหาคม 2567
- 34 ปี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พัฒนาสู่อนาคตที่ยั่งยืน Innovate the Future 26 กรกฎาคม 2567