ต้อนรับคณะผู้ตรวจราชการ ติดตามผลการดำเนินงานของแผนงาน โครงการการจัดการสิ่งแวดล้อมสีเขียวเพื่อความยั่งยืน ตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model)

วันนี้ (8 มีนาคม 2565) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พีระพงษ์ อุฑารสกุล รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และงบประมาณ พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.มัลลิกา สังข์สนิท รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ นวัตกรรม และความเป็นผู้ประกอบการ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ชัย จิตตะมัย รองอธิการบดีฝ่ายการเงิน ทรัพย์สิน และวิสาหกิจ ให้การต้อนรับคณะผู้ตรวจราชการ เขตตรวจราชการที่ 13 ในการตรวจราชการแบบบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รอบที่ 1
 
 
 
 
 
 
ประกอบด้วย นายเจริญ ชื้อตระกูล ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี นายพิจิตร บุญทัน ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชน ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการ และหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของแผนงาน โครงการการจัดการสิ่งแวดล้อมสีเขียวเพื่อความยั่งยืน ตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) ในประเด็นการตรวจติดตามการจัดการสิ่งแวดล้อมสีเขียว การบริหารจัดการ การหมุนเวียนการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางชีวภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ณ ห้องประชุมสารนิเทศ อาคารบริหาร และเยี่ยมชมฟาร์มกัญชา มทส. โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นันทกร บุญเกิด นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญโครงการวิจัยการผลิตกัญชาเชิงคุณภาพเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และเชิงพาณิชย์ มทส. นำเยี่ยมชม
 
 
 
 
ในการนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สารัมภ์ บุญมี รองผู้อำนวยการเทคโนธานี ฝ่ายบริหารจัดการนวัตกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณลดา ติตตะบุตร และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐธิญา เบือนสันเทียะ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมนำเสนอโครงการ งานวิจัยและพัฒนา การปรับแปลงถ่ายทอดเทคโนโลยี และผลการดำเนินงาน ของ มทส. ตามสาขายุทธศาสตร์ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ครอบคลุมด้านการเกษตรและอาหาร ด้านสุขภาพและการแพทย์ ด้านพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ ด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ด้านการศึกษาวิจัย ด้านการตลาด และอื่น ๆ อาทิ การพัฒนาแพลตฟอร์มงานวิจัยและธุรกิจมันสำปะหลังครบวงจร อีสานเอสดีจี (Esan SDGs) การพัฒนาเกษตรดิจิทัลต้นแบบสำหรับการผลิตพืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่ภาคตะวันออกฉียงเหนือ สู่ศูนย์กลางเศรษฐกิจเกษตร BCG การพัฒนาสารชีวภัณฑ์จากจุลินทรีย์เพื่อป้องกันกำจัดโรคพืช การผลิตพืชกัญชงกัญชาเพื่อการแพทย์ การผลิตชีวภัณฑ์จากจุลินทรีย์ การปลูกพืชเศรษฐกิจและกิจกรรมเพื่อ Food Valley การเลี้ยงไก่โคราชแบบระบบเปิด โคเนื้อพันธุ์โคราชวากิว โคเนื้อและโคนมคุณภาพสูง แพะโคราช ฟาร์มผลิตสัตว์น้ำอัจฉริยะ การผลิตเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหม บรรจุภัณฑ์ เชิงสร้างสรรค์ที่มีอัตลักษณ์ของภูมิภาคสู่สากล อุทยานเควสตาโคราช (สวนหิน) การบริหารจัดการขยะมูลฝอย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อพัฒนาระบบการจัดทำฐานข้อมูลดิจิทัลเชิงพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาการ การขับเคลื่อนจังหวัดนครราชสีมาด้าน Smart City โคราชแซนบ็อกซ์: “เริ่มต้นใหม่” ฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม เพิ่มพื้นที่ป่า ลดภาวะโลกร้อน ด้วยการส่งเสริมการปลูกไม้ผลพืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่ เป็นต้น
 
 
 
 

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง