สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา จัดอบรมการพัฒนาความรู้การสร้างผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้โรงงานอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา จัดอบรมการพัฒนาความรู้การสร้างผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้โรงงานอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรมการพัฒนาความรู้การสร้างผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้ กิจกรรม “นวัตกรรมเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังด้วยผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้โรงงานอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567” จัดโดย สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา ในการนี้ อาจารย์ ดร.มัลลิกา สังข์สนิท รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ นวัตกรรม และความเป็นผู้ประกอบการ ในนาม มทส. ให้การต้อนรับ นายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ประธานในพิธีเปิดงาน นางรินทร์รัตน์ดา ซึ้งสัมปทาน หัวหน้ากลุ่มนโยบายและแผนงาน อุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา นายปัญญา บุญบันดาลฤทธิ์ นายกสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมด้วย ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา ผู้ประกอบการมันสำปะหลัง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านโครงการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวและบริการ ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง อุตสาหกรรมเป้าหมาย และอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ที่เข้าร่วมการอบรมกว่า 300 คน ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องสุรนารี สุรสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี


การอบรมครั้งนี้นับเป็นการสร้างการรับรู้และแนะนำโครงการ “นวัตกรรมเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังด้วยผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้โรงงานอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง” ตามนโยบาย BCG สร้างความยั่งยืนห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่ B: Bio Economy เศรษฐกิจชีวภาพ C: Circular Economy เศรษฐกิจหมุนเวียน G: Green Economy เศรษฐกิจสีเขียว โดยมี อาจารย์ตรัย อาจหาญ ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรม เป็นวิทยากร นอกจากนี้ มีการบรรยายหัวข้อ “แนวทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมมันสำปะหลังไทยด้วย BCG Model” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดชล วุ้นประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรชีวภาพ และหัวข้อ “นวัตกรรมชีวภาพอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง” โดย ดร.ปิยวรรณ อยู่ดี ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ พร้อมการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างรูปแบบ Model BCG จากวัสดุเหลือใช้จากมันสำปะหลัง” และสร้างกลุ่มเครือข่ายชีวภาพมันสำปะหลังอีกด้วย


ทั้งนี้ มทส. ได้มีความร่วมมือกับ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา เพื่อพัฒนาการผลิตแป้งมันสำปะหลังตั้งแต่ต้นทาง ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาคิดค้นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้ของโรงงานอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง ผลิตเป็นสารปรับปรุงดิน เพื่อเพิ่มคุณภาพและจำนวนมันสำปะหลังต่อไร่ ซึ่งจะทำให้โรงงานอุตสาหกรรมมีแนวทางและวิธีการกำจัดวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตที่ถูกต้อง รวมทั้งได้วัตถุดิบ คือ หัวมันสำปะหลัง ที่ดีมีคุณภาพป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตอย่างเพียงพอตลอดปี ส่งผลให้อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมและผลิตภาพการผลิตของอุตสาหกรรมของจังหวัดนครราชสีมาและของประเทศดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
- มทส. เปิดเวที QA Forum มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานสากล 11 เมษายน 2568
- ปัจฉิมนิเทศแสดงความยินดีต่อบัณฑิตแพทย์ มทส. ปีการศึกษา 2567 04 เมษายน 2568
- วิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน มทส. ลงพื้นที่ตรวจสอบโครงสร้างอาคารภายในมหาวิทยาลัย สร้างความมั่นใจแก่ประชาคม 02 เมษายน 2568
- มทส. ต้อนรับ มมส. ศึกษาดูงานศูนย์สอบระดับภูมิภาค การจัดสอบ TGAT, TPAT และ A-Level 02 เมษายน 2568
- มทส. จัดพิธีมอบเสื้อกาวน์และประดับป้ายชื่อแก่นักศึกษาแพทย์ชั้นปรีคลินิก ประจำปีการศึกษา 2567 28 มีนาคม 2568
- สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดนครราชสีมา ให้การรับรองงบการเงินของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ปีงบประมาณ 2567 28 มีนาคม 2568
- ผู้แทน บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษา รุ่นที่ 28 กราบลา “คุณย่าโม” ณ สัญลักษณ์สถาน มทส. 24 มีนาคม 2568
- สมาคมเทคโนโลยีสุรนารีมอบทุนแก่นักศึกษา มทส. 24 มีนาคม 2568
- บัณฑิต มทส. แสดงกตัญญุตาต่อมหาวิทยาลัย กราบลาขอพร จากผู้บริหารและคณาจารย์ ก่อนออกรับใช้สังคม 24 มีนาคม 2568
- ซ้อมใหญ่ พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มทส. ปีการศึกษา 2566 24 มีนาคม 2568