มทส. ร่วมกับ สสวท. – สวคท จัดประชุม วทร. 22 สะเต็มประเทศไทย

มทส. ร่วมกับ สสวท. – สวคท จัดประชุม วทร. 22 สะเต็มประเทศไทย

ระดมผู้เชี่ยวชาญทั้งไทยและต่างประเทศถ่ายทอดประสบการณ์จริง 

 

 

 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(มทส.) ร่วมกับ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และ สมาคมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สวคท) เชิญชวนครู อาจารย์ บุคลากรทาการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีทุกระดับ ร่วมการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ในโรงเรียน ครั้งที่ 22 (วทร. 22) ประจำปี 2558 เวทีระดับชาติเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ“สะเต็มประเทศไทย - นวัตกรรมการศึกษาไทย (STEM THAILAND- INNOVATION FOR THAI EDUCATION)” ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่5 - 7 มีนาคม 2558 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมาทั้งนี้ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมการประชุมได้ทาง http://econference.sut.ac.th/scimath22 จนถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์2558

 

 

ศาสตราจารย์ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เปิดเผยว่า“ในนามของสสวท. สวคท. และ มทส. ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ในโรงเรียน ครั้งที่ 22 หรือ วทร. 22 ถือเป็นกิจกรรมสำคัญในการขับเคลื่อนวงการศึกษาไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เนื่องจากเป็นเวทีระดับชาติสำหรับครูอาจารย์ผู้สอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ทุกระดับ ที่เป็น “ผู้รู้ ผู้เล่น” มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในปีนี้ชูประเด็น “สะเต็ม” หรือ “STEM”หมายถึง องค์ความรู้ของ 4 สหวิทยาการ ได้แก่วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology)  วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics)ซึ่งผู้เข้าร่วมการประชุมจะได้รับความรู้ ความเข้าใจว่าทำไมต้องสะเต็มสะเต็มแล้วได้อะไร เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการศึกษาไทยอย่างไร สามารถหาคำตอบได้ในการประชุมวิชาการครั้งนี้อีกทั้งเป็นการแสวงหาแนวทางและเทคนิคการจัดการเรียนการสอนใหม่ ๆ จุดประกายให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเกิดแนวทางใหม่ๆ ในการจัดการเรียนการสอนของตนเอง ทั้งนี้คาดว่าจะมีครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา เข้าร่วมการประชุมกว่า 1,500 คน”

 

 

ดร.พรพรรณไวทยางกูร ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าวด้วยว่า “การจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา (STEMEducation) เป็นแนวทางที่ประเทศชั้นนำทางการศึกษารวมทั้งประเทศไทยให้ความสนใจโดย สสวท. ริเริ่มนำเข้ามาในประเทศไทยและขยายผลเข้าสู่สถานศึกษาในปี 2557 ซึ่งเป็นหัวข้อหลักของในการประชุมวทร. 22 มีกิจกรรมที่น่าสนใจ ประกอบด้วย การบรรยายพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ ดร.กฤษณพงศ์กีรติกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ หารหนองบัว นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศในพระบรมราชูปถัมภ์ การจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการและการบรรยายพิเศษของผู้เชี่ยวชาญจากฟินแลนด์เกาหลี และญี่ปุ่น การบรรยายวิชาการ และกิจกรรมเชิงปฏิบัติการจากผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษา กว่า 100 รายการ การนำเสนอผลงานด้วยวาจาและโปสเตอร์กว่า 200 รายการ คลินิกวิชาการสำหรับครูวิทยาศาสตร์ ครูคณิตศาสตร์และครูเทคโนโลยี นิทรรศการการนำเสนอผลงานของ ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง นิทรรศการกิจกรรมสะเต็มกิจกรรม handson และผลงานครูสะเต็มดีเด่น กิจกรรมเสริมกระบวนการเรียนรู้จาก อพวช.คาดว่าการประชุมที่จะเกิดขึ้นในเดือนมีนาคมนี้ จะมีส่วนส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เพิ่มพูนศักยภาพทางวิชาการรวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิด และประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนอันเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเยาวชนให้มีคุณภาพ เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนสืบต่อไป”

 

 

นางดวงสมร คล่องสารา นายกสมาคมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สวคท) กล่าวถึงแนวทางการนำสะเต็มศึกษามาใช้พัฒนาวิชาชีพครูและทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่21ด้วยว่า “สะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่มีจุดเด่น คือการช่วยให้ผู้เรียนได้มองเห็นความเชื่อมโยง และการประยุกต์ความรู้ ทักษะในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ทั้งนี้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาครูจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้ให้ความรู้เพียงฝ่ายเดียว ไปเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้สะท้อนให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหากับชีวิตประจำให้แก่ผู้เรียน ผ่านสถานการณ์หรือปัญหาที่สามารถพบเจอได้ในชีวิตจริงนอกจากนี้ ครูสะเต็มต้องพัฒนาทักษะในการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนรวมถึงทักษะการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และสร้างแรงบันดาลในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสามารถนำกระบวนการในการทำวิจัยไปพัฒนาการสอนของตนเองได้ ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการสอนให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน”

 

ส่วนประชาสัมพันธ์ 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

5 กุมภาพันธ์2558

 


ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง