สัมมนาผู้บริหาร มทส. ประจำปี’ 61 อธิการบดีชู 4 ประเด็นหลักมุ่งเป้าพัฒนาระบบบริหารงาน

 

สัมมนาผู้บริหาร มทส. ประจำปี’ 61 อธิการบดีชู 4 ประเด็นหลักมุ่งเป้าพัฒนาระบบบริหารงาน

          รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาผู้บริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561  โดยฝ่ายทรัพยากรบุคคลจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 4-5 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมโรแมนติค รีสอร์ท แอนด์ สปา เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยมีผู้บริหารระดับรองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการ ผู้ช่วยอธิการบดี รองคณบดี รองผู้อำนวยการ หัวหน้าส่วน หัวหน้าสาขา หัวหน้าสำนักงาน หัวหน้ากลุ่มงาน หัวหน้าหน่วยวิสาหกิจ และหัวหน้าฝ่ายหน่วยวิสาหกิจ เข้าร่วมสัมมนารวมทั้งสิ้น 120 คน

         การสัมมนาในครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ในการบริหารงานระหว่างผู้บริหารทุกระดับ เพื่อให้เกิดความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างผู้บริหารมหาวิทยาลัย เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะในการพัฒนาและปรับปรุงระบบบริหารงานของมหาวิทยาลัย  ใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ Workload & Performance Evaluation, Project-Based Management, Asset Management และ Smart University รวมถึงเป็นเวทีของการ Reflection เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นต่อการบริหารงานในเชิง “รวมบริการ ประสานภารกิจ” ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของการบริหารงานของมหาวิทยาลัย

รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดี มทส. กล่าวว่า การจัดสัมมนาผู้บริหารเป็นกิจกรรมที่สำคัญกิจกรรมหนึ่งในการบริหารองค์กรที่มุ่งหวังให้ผู้บริหารได้มีโอกาสกระชับความสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน ตาม Platform Management เพื่อการพัฒนากิจการของมหาวิทยาลัยให้เจริญกาวหน้าบน SUT Re-Profile 2020 ตามที่ได้กำหนดเป็นนโยบายและทิศทางการบริหาร ซึ่งประเด็นหลักและค่อนข้างให้ความสำคัญที่จะต้องร่วมกันผลักดันให้เกิดมรรคผลใน 4 ปี คือเรื่อง Asset Management คือการบริหารสินทรัพย์และการสร้างรายได้ที่มหาวิทยาลัยมี ระบบ Project Based Management (PBM) ซึ่งหลังมจากใช้มา 1 ปีพบว่ามีความก้าวหน้าอีกระดับหนึ่ง เรื่อง Smart University  และ Workload & Performance Evaluation ที่มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญไม่แพ้กัน

อธิการบดี มทส. ได้ให้แนวนโยบายรวมถึงเน้นย้ำว่า Workload Analysis หรือ Performance Evaluation เป็น 1 ใน 5  ในยุทธศาสตร์หลักที่มีความสำคัญค่อนข้างมาก เนื่องจากถือเป็นฐานรากที่สร้างความมั่นคงให้กับบ้านในยุทธศาสตร์และทิศทางการบริหาร บน SUT Re-Profile 2020 ที่มหาวิทยาลัยกำลังพยายามปรับเพื่อให้เกิดความยุติธรรมในการทำงานและการประมินผลการปฏิบัติงาน ซึ่งต้องพัฒนาเครื่องมือและวิธีการการประเมินให้มีประสิทธิภาพ เพื่อที่สุดท้ายสามารถเชื่อมโยงไปถึงความก้าวหน้าและพัฒนาการของมหาวิทยาลัยด้วย

ด้าน Project-Based Management) ซึ่งเริ่มนำมาใช้ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2561 ต้องขอบคุณทีมงานและทุกหน่วยงาน  เพราะกว่า 95% โครงการภายใต้ PBM ถูกรายงานเข้ามาในระบบเรียบร้อยแล้ว แต่ทำอย่างไรระบบการรายงานผลจะเป็น 100%  เพื่อให้การทำ PBM Analysis สมบูรณ์ขึ้น ทราบถึงวินัยทางการเงินการคลัง การบริหารจัดการการใช้เงินงบประมาณเป็นอย่างไร รวมถึงทราบถึงเงินงบประมาณเหลือจ่ายข้ามปี เพื่อนำไปใช้เป็นงบประมาณหรือเป็นรายได้ในการจัดแผนปฏิบัติการในปีถัดไป และจะทำอย่างไรจึงจะสามารถเชื่อม PBM กับการพัฒนาระบบการประมินผลการปฏิบัติงาน การทำ Workload Analysis ในอนาคต ซึ่งสามารถวัด Performance ของพนักงานและทำให้ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็รธรรมกับทุกฝ่าย สุดท้ายมหาวิทยาลัยจะเห็น Strategic Realtime Management เห็นถึงสัมฤทธิผลของการดำเนินการอย่างแท้จริง

ด้าน Asset Management เป็นเรื่องสำคัญ มทส. ก่อตั้งมา 28 ปี สะสมสินทรัพย์มากมาย ทั้งบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ หน่วยงานต่างๆ ซึ่งมีจุดแข็งและมีความเป็นเลิศ และทีมบริหารและมหาวิทยาลัยซึ่งมี Core value จะทำอย่างไรให้การขับเคลื่อน Asset Management บนสินทรัพย์และจุดแข็งที่แต่ละคนและหน่วยงานมีก่อให้เกิดเป็น New Income Generation ให้แก่มหาวิทยาลัย เป็น Quick Win เช่น หลักสูตรระยะสั้นตามความต้องการของผู้เรียน หลักสูตรพันธุ์ใหม่ การทำ Electronic Courseware เพื่อจะทำการศึกษาไร้พรมแดน (Borderless Education) การทำ Value Creation การนำงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่เชิงพาณิชย์ และเป็นต้น

ทางด้านSmart University อยากให้พัฒนาในหลายมิติ เช่น ระบบการขนส่งภายในมมหาวิทยาลัย ระบบการจราจร ระบบรักษาความปลอดภัย Parking Space, Green Zone และที่สำคัญควรมีการสร้างระบบ SUT Master Plan Architecture View  เพิ่มเติมจากแผนแม่บทเดิมตั้งแต่ปี 2533 ในมุมของภูมิสถาปัตย์และการใช้ประโยชน์พื้นที่ และมีความเป็น Smart อย่างแท้จริง” อธิการบดี มทส. กล่าว

         ต่อมาในวันที่ 5 สิงหาคม 2561 ภายหลังมการสรุปผลการสัมมนา ในช่วงบ่าย คณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยได้เดินทางเข้าเยี่ยมชมศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันสูงยิ่งของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชวินิจฉัยมอบหมายให้มหาวิทยาลัยเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ทั้ง อพ.สธ. คลองไผ่ และศูนย์ฝึกอบรม อพ.สธ. คลองไผ่ จำนวน 395 ไร่ เพื่อเป็นศูนย์ถ่ายทอดแนวทางตามพระราชดำริ “ศาสตร์พระราชา” มาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

 

 


ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง