มทส. ติดตั้งและส่งมอบเครื่องกำจัดฝุ่น PM 2.5 ด้วยระบบไอออนประจุไฟฟ้าและเครื่องตรวจวัดค่าฝุ่นความแม่นยำสูง เพื่อแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ให้กับจังหวัดนครราชสีมา

มทส. ติดตั้งและส่งมอบเครื่องกำจัดฝุ่น PM 2.5 ด้วยระบบไอออนประจุไฟฟ้าและเครื่องตรวจวัดค่าฝุ่นความแม่นยำสูง เพื่อแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ณ บริเวณช้างคู่ ป้อมเมืองย่า (ทาเคชิ) ตรงข้ามห้างสรรพสินค้าไอทีพลาซ่า จังหวัดนครราชสีมา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรชัย อาจหาญ รองอธิการบดีฝ่ายทรัพย์สินและวิสาหกิจ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปภากร พิทยชวาล ผู้อำนวยการเทคโนธานี พร้อมด้วยคณะนักวิจัยที่ผลิตเครื่องกำจัดฝุ่น PM2.5 ด้วยระบบไอออนประจุไฟฟ้า ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ชาญชัย ทองโสภา หัวหน้าสถานวิจัย สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนเสฏฐ์ ทศดีกรพัฒน์ หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ อาจารย์ ดร.สำราญ สันทาลุนัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และคณะนักวิจัยที่ผลิตเครื่องตรวจวัดค่าฝุ่นความแม่นยำสูง อาจารย์ ดร.วิวัฒน์ นวลสิงห์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาฟิสิกส์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พันทิพย์ ปิยะทัศนานนท์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภูมิสารสนเทศ อาจารย์ ดร.ฐนกร ศรีธราพิพัฒน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภูมิสารสนเทศ และนายนิวัฒน์ เหมหา ได้ติดตั้งและส่งมอบเครื่องกำจัดฝุ่น PM 2.5 ด้วยระบบไอออนประจุไฟฟ้าและเครื่องตรวจวัดค่าฝุ่นความแม่นยำสูง เพื่อแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ให้กับจังหวัดนครราชสีมา โดยมี นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นผู้รับมอบ และนายพงษ์เลิศ สุภัทรวณิชย์ รองนายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา เป็นผู้กล่าวต้อนรับ ณ บริเวณช้างคู่ ป้อมเมืองย่า (ทาเคชิ) ตรงข้ามห้างสรรพสินค้าไอทีพลาซ่า จังหวัดนครราชสีมา วันที่ 30 มกราคม 2563
เครื่องกำจัดฝุ่น PM 2.5 ด้วยไอออนประจุไฟฟ้า มีหลักการทำงานคล้ายเครื่องฟอกอากาศที่ใช้ในระบบปิด แต่คณะนักวิจัยได้ออกแบบให้เครื่องดังกล่าวสามารถที่จะใช้ในระบบเปิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงการนำไปใช้งานได้จริง การประหยัดพลังงาน และการออกแบบให้สวยงามกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม โดยใช้หลักการปล่อยประจุไฟฟ้าลบ ที่สร้างจากวงจรทวีแรงดันหลายหมื่นโวลต์จากไฟฟ้า 220 Vac ขึ้นไปเป็นแรงดันไฟฟ้าประมาณ 35,000 Vdc ค่ากระแส 18 mA (วงจรสร้างแรงดันสูง กระแสต่ำ) และแรงดันไฟฟ้าสูง 35,000 Vdc เพื่อจ่ายประจุไฟฟ้าไอออนออกไปในอากาศผ่านปลายแหลมของแผ่นเพลททองแดง เพื่อดักจับอนุภาคของฝุ่น PM 2.5 ทำให้อนุภาคฝุ่นเป็นกลางหล่นลงสู่พื้น คงเหลือแต่อากาศที่สะอาดปราศจากฝุ่นควันกลับสู่ธรรมชาติ มีความปลอดภัยต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม โดยเครื่องกำจัดฝุ่น PM 2.5 ต้นแบบนี้สามารถกำจัดฝุ่นละอองได้ 100,000 ไมโครกรัมต่อชั่วโมง เทียบเท่าประสิทธิภาพของต้นไม้ขนาดกลางจำนวน 510 ต้น มีประสิทธิภาพในการกำจัดฝุ่นในพื้นที่ประมาณ 1,000 ตารางเมตรโดยรอบ และใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยประมาณชั่วโมงละ 1.50 บาท ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพ ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม และมีราคาถูกกว่าเครื่องจากต่างประเทศหลายเท่าตัว
สำหรับเครื่องตรวจวัดค่าฝุ่น PM2.5 ความแม่นยำสูงนั้น ได้ใช้เซนเซอร์ที่อาศัยหลักการกระเจิงของแสง (light scattering) เมื่อมีฝุ่นขนาดเล็กลอยผ่านลำแสงเลเซอร์ภายในเซนเซอร์ จะทำให้เกิดการกระเจิงแสงและมีสัญญาณไฟฟ้าเกิดขึ้นสัญญาณไฟฟ้านี้จะถูกประมวลผลแล้วให้ค่าประมาณของปริมาณฝุ่นขนาดต่าง ๆ จากนั้นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในชุดตรวจวัดจะทำการส่งค่าข้อมูลที่ได้ไปแสดงผล แจ้งเตือน หรือบันทึกไว้สำหรับการวิเคราะห์ปัญหาฝุ่นที่จะเกิดขึ้นได้ นวัตกรรมนี้สามารถติดตั้งได้ในทุกพื้นที่ที่มีแสงอาทิตย์และสัญญาณโทรศัพท์มือถือเข้าถึงเนื่องจากใช้แผงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับชุดตรวจวัด ใช้การส่งข้อมูลค่าฝุ่น PM2.5 ผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยช่องทางการสื่อสารของสัญญาณโทรศัพท์ นอกจากนี้ยังใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมมาวิเคราะห์หาจุดติดตั้งที่เหมาะสม เพื่อให้ค่าปริมาณฝุ่น PM 2.5 ครอบคลุมพื้นที่และถูกต้องมากยิ่งขึ้น
สำหรับ เครื่องกำจัดฝุ่น PM 2.5 ด้วยไอออนประจุไฟฟ้าและเครื่องตรวจวัดค่าฝุ่น PM2.5 ความแม่นยำสูง ที่ มทส.นำมาติดตั้งให้กับจังหวัดนครราชสีมาในครั้งนี้ คณะนักวิจัยร่วมกันออกแบบชุดอุปกรณ์ เพื่อให้มีขนาดที่สามารถใช้งานได้จริง โดยมีรูปทรงเป็นฐาน 6 เหลี่ยม กว้างด้านละ 122 เซนติเมตร และมีความสูง 305 เซนติเมตร
ทั้งนี้ มทส. และทีมนักวิจัยคาดหวังว่า เครื่องกำจัดฝุ่น PM2.5 ด้วยระบบไอออนประจุไฟฟ้าและเครื่องตรวจวัดค่าฝุ่นความแม่นยำสูงดังกล่าว จะช่วยบรรเทาและลดมลพิษ ลดฝุ่นควัน กลิ่น โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก บริเวณพื้นที่จุดติดตั้งและใกล้เคียง ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังสามารถออกแบบตัวเครื่องให้มีความสวยงามกลมกลืนต่อสภาพแวดล้อม สามารถขยายขนาดการใช้งานได้ตามขนาดพื้นที่ ทั้งในครัวเรือน ตัวอาคาร สถานประกอบการ หรือสร้างเป็นเครื่องกำจัดฝุ่น PM ขนาดใหญ่เทียบเท่าตึกกว่า 10 ชั้น หรือปรับให้เข้ากับสภาพพื้นที่และสถาปัตยกรรมที่จะทำการติดตั้งต่อไปได้
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
- มทส. จัดงานเชิดชูเกียรติและขอบคุณ ผู้เข้ารับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และผู้รับเข็มกิตติการทองคำ พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2566 25 มีนาคม 2568
- พระราชทานปริญญาบัตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และเข็มกิตติการทองคำ 25 มีนาคม 2568
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา มทส. 25 มีนาคม 2568
- มทส. รับรางวัล “อาจารย์” และ “สถาบัน” ต้นแบบด้านการสอน รางวัลเกียรติยศระดับชาติ จาก ควอท ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 21 มีนาคม 2568
- อธิการบดี มทส. ได้รับคัดเลือกเป็นนิสิตเก่าเคมี จุฬาฯ ดีเด่น ประจำปี 2568 20 มีนาคม 2568
- มทส. ร่วมกับ สมาคมวัสดุประเทศไทย แถลงประกาศผลรางวัล “รางวัลนักวิจัยวัสดุดีเด่น รางวัลนักวิจัยวัสดุรุ่นใหม่ดีเด่น และรางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัยวัสดุ ประจำปี 2567” และการจัดประชุมวิชาการนานาชาติด้านวัสดุศาสตร์ MRS-Thailand 2025 10 มีนาคม 2568
- มทส. ติดอันดับ 9 มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำโลก โดย SCImago Institutions Rankings 2025 06 มีนาคม 2568
- มทส. เปิดตัวการประกวดนวัตกรรมเพื่อพัฒนางาน “รางวัลสุรนวัตร” ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวม 160,000 บาท 26 กุมภาพันธ์ 2568
- ขอเชิญร่วมทอดผ้าป่า มทส. ส่งต่อโอกาสเพื่อการศึกษา พร้อมรับของที่ระลึก วัตถุมงคลรุ่น “สุนทรีวาณี-คุณย่าโม” และร่วมออกโรงทาน 11 กุมภาพันธ์ 2568
- นักวิจัย มทส. รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ในงาน วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2568 03 กุมภาพันธ์ 2568