มทส. มุ่งสร้างหมอ แทนคุณบ้านเกิด ร่วมมือเขตสุขภาพที่ 9 ผลิตแพทย์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้

มทส. มุ่งสร้างหมอ “แทนคุณบ้านเกิด”
ร่วมมือเขตสุขภาพที่ 9 ผลิตแพทย์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้
 
 
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) และ เขตสุขภาพที่ 9 กระทรวงสาธารณสุข ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการผลิตแพทย์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ในเขตพื้นที่นครชัยบุรินทร์ ตามเจตนารมณ์ในการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท เพื่อท้องถิ่นบ้านเกิด และลดปัญหาขาดแคลนแพทย์ในภูมิภาคอย่างแท้จริง โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ ทองระอา อธิการบดี มทส. และ นายแพทย์ภูวเดช สุระโคตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9 พร้อมด้วย สาธารณสุขนิเทศก์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตสุขภาพที่ 9 นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุรินทร์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ และโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพ คณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ และคณะผู้บริหาร มทส. ร่วมในพิธีลงนาม วันที่ 9 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมสวนหม่อน ชั้น 7 อาคารผู้ป่วยนอกและอำนวยการ โรงพยาบามหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
 
 
 
 
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุธรรม ปิ่นเจริญ คณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มทส. เผยว่า “มทส. เปิดรับนักศึกษาแพทย์รุ่นแรกในปีการศึกษา 2549 ตามโครงการความร่วมมือในการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และกำลังรับนักศึกษาปีการศึกษา 2566 เป็นรุ่นที่ 17 มีบัณฑิตแพทย์ออกไปรับใช้ประชาชนกว่า 580 คน หลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานแพทยสภา และมุ่งพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตตามแนวคิด community engagement medical education ในโครงการ “แทนคุณบ้านเกิด” โดยการใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อให้นักศึกษาและอาจารย์แพทย์ได้สัมผัสและเรียนรู้การทำงานชุมชน เข้าใจสภาพปัญหาของชุมชน มีส่วนร่วมกับชุมชนตั้งแต่เริ่มต้นการเรียนแพทย์ ซึ่งความร่วมมือระหว่าง มทส. และ เขตสุขภาพที่ 9 กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ในครั้งนี้ เพื่อร่วมมือกันพัฒนาระบบการจัดการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตที่ใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (community based) ผลิตแพทย์เข้าสู่ระบบสาธารณสุขโดยใช้โรงพยาบาลชุมชนและเครือข่ายสุขภาพของพื้นที่ที่มีศักยภาพ ให้นักศึกษาแพทย์ได้ไปเรียนรู้ในภูมิลำเนาตามพื้นที่โควตาคัดเลือก จัดให้อาจารย์ที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดนั้น ๆ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหรือออกนิเทศร่วมกับอาจารย์ที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาล ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ และมีบุคลากรที่ทำงานอยู่จริง ๆ ในระบบสาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยง นำมาซึ่งความเข้าใจระบบการดูแลสุขภาพของชาวบ้านในท้องถิ่น เกิดความผูกพัน สร้างแรงบันดาลใจ พัฒนาเจตคติที่ดี มีความสุขในการทำงาน และเป็นหมอที่ยังคงอยู่ในพื้นที่ ลดปัญหาขาดแคลนแพทย์และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เป็นการพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่ที่จัดการศึกษาให้เกิดความยั่งยืนต่อไป”
 
-----------------
betgol kirala

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง