ขอแสดงความยินดี Student Spin-off มทส. เปิดตัว Momentra ร่วมกับ บมจ.นิวทรีชั่น เอสซี (NTSC) ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับผู้มีปัญหาในการนอนหลับ พร้อมจำหน่ายทั้งภายในและต่างประเทศ
Student Spin-off มทส. เปิดตัว Momentra ร่วมกับ “บมจ.นิวทรีชั่น เอสซี (NTSC)
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับผู้มีปัญหาในการนอนหลับ พร้อมจำหน่ายทั้งภายในและต่างประเทศ
บริษัท สยามไบโอต้า จำกัด บริษัทด้านวิจัยและพัฒนาเชิงลึก (Deep Tech Spin-off Company) ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พันธุ์วงค์ คุณธนะวัฒน์ อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ในฐานะ Chief Executive Officer พร้อมด้วยนายกิตติคุณ ภูคงคา ผู้ช่วยสอนและวิจัย Chief Technical Officer และ นายกิตติภัฏ โชติจินดากุล Chief Technical Officer ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ “Momentra” ร่วมกับ ดร.พัชร์ เอกปัญญาสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นิวทรีชั่น เอสซี จำกัด ภายในงาน TED Fund Open House 2023 จัดโดย กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เมื่อวันที่ 4-5 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา ณ ลานกิจกรรม ชั้น G สามย่านมิตรทาวน์ กรุงเทพฯ
งาน TED Fund Open House 2023 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “SPARK your Creativity, IGNITE your Potential – จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ จุดไฟศักยภาพในตัวคุณ” ได้เปิดจัดแสดงผลงานผลิตภัณฑ์และบริการของผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก TED Fund พร้อมเปิดพื้นที่เจรจาทางธุรกิจแก่นักลงทุนที่สนใจ และนิทรรศการผลงานและกลไกการสนับสนุนของ TED Fund พร้อมด้วยเวทีเสวนาสร้างแรงบันดาลใจให้ความรู้ด้านธุรกิจ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
นายกิตติภัฏ โชติจินดากุล Chief Technical Officer กล่าวว่า “สำหรับผลิตภัณฑ์ Momentra หนึ่งใน Spin-off ของ มทส. เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อตอบโจทย์สำหรับผู้มีปัญหาในการนอนหลับแบบองค์รวม ดำเนินงานภายใต้ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร โดยจุดเริ่มต้นมาจากแนวโน้มปัญหาการนอนหลับยากเพิ่มมากขึ้น โดยในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับเป็นจำนวนมาก แต่มุ่งการแก้ปัญหาในระยะสั้น เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แต่สำหรับ Momentra มุ่งแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ ด้วยการปรับสมดุลสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับภายในสมอง ด้วยคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนี้จะเข้าไปปรับสมดุลของสารสื่อประสาทที่ลดลงให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการนอนหลับในระยะยาว ไม่เกิดการดื้อยา หรือเกิดโยโย่เอฟเฟคหลังจากหยุดใช้ เพราะวัตถุดิบหลักของ Momentra ได้ใช้นวัตกรรมตั้งแต่ระดับต้นน้ำ คือการเพาะเลี้ยงสาหร่าย การคัดเลือกสาหร่าย ขยายสเกลสู่ระดับโรงเรือน ผ่านกระบวนการทางคลินิก (Clinical trial) ซึ่งสามในสี่ของผู้รับการทดสองมีผลออกมาในเชิงบวกซึ่งถือได้เป็นระดับที่น่าพอใจสามารถพัฒนาต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ได้
ภาพจาก https://www.tedfundmarket.com/innovation/view/618
ทั้งนี้ ทีมผู้บริหารบริษัท นิวทรีชั่น เอสซี จำกัด (มหาชน) ได้ให้ความสนใจร่วมมือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ หลังจากได้รับทราบข้อมูลผลิตภัณฑ์ของบริษัท สยามไบโอต้า จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทสปินออฟน้องใหม่ทางด้านวิจัยและพัฒนาเชิงลึก (deep tech spin-off company) ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยมีความเชี่ยวชาญในการคิดค้น วิจัย พัฒนา และผลิตนวัตกรรมจากธรรมชาติ โดยเฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบใหม่จากท้องน้ำและท้องทะเล (marine-based ingredients) โดยใช้ความเชี่ยวชาญด้านการตลาดผสานกับความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนา จากความร่วมมือสู่เชิงพาณิชย์ในครั้งนี้ ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ Momentra ออกวางจำหน่ายทั้งภายในและต่างประเทศต่อไป
ทางด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ ทองระอา อธิการบดี มทส. “มหาวิทยาลัยขอแสดงความยินดีกับบริษัท สยามไบโอต้า จำกัด ที่สามารถต่อยอดงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ในนามผลิตภัณฑ์ Momentra ได้สำเร็จ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย SUT 2025 ที่กำลังขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้เปลี่ยนผ่านจากมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัยไปสู่การพัฒนามหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืน โดยหนึ่งในหมุดหมายดังกล่าว มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการสร้าง Student Entrepreneur การสร้างนักศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการ ด้วยการจัดหลักสูตรการเรียนการสอน การทำงานวิจัยหรือความคิดริเริ่มต่าง ๆ การสร้างระบบนิเวศที่ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการสร้าง Startup / Spin-off ทั้งนักศึกษาและคณาจารย์ที่สนใจสามารถเข้ามาสู่โครงการหรือกระบวนการของการบ่มเพาะ ทั้งจากทาง SEDA หรือเทคโนธานี การต่อยอดไอเดีย การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยต่าง ๆ รวมถึงนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยไปสู่เชิงพาณิชย์ สามารถทำได้ในหลายระดับ ภายใต้หลักคิด Shared purpose, mutual benefits (Win-Win) มีการเชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจหรือภาคอุตสาหกรรม ผ่านทางผลงานวิจัยและนวัตกรรมเด่นของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (Center of Excellence: CoEs) กลุ่มต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การปรับแปลง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี ต่อยอดผลงานวิจัยสู่การสร้างธุรกิจฐานนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งจะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำให้เห็นว่าภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเองมองเห็นมหาวิทยาลัยเป็นโอกาส งานวิจัยของมหาวิทยาลัยสามารถจะนำไปสู่การต่อยอดหรือการทำ New Business ของภาคเอกชนได้” อธิการบดี มทส. กล่าว
ส่วนประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
11 สิงหาคม 2566
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
- มทส. อันดับ 10 สถาบันอุดมศึกษาที่ชำระหนี้ กยศ. ดีที่สุดของประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 11 พฤศจิกายน 2567
- มทส. ติด Top 10 ม.ไทย ในการจัดอันดับ ม.ชั้นนำเอเชีย โดย QS World University Rankings: Asia 2025 07 พฤศจิกายน 2567
- รศ. ดร.อัญญานี คำแก้ว อาจารย์ มทส. รับทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” (For Women in Science) ประจำปี 2567 01 พฤศจิกายน 2567
- ตรวจพื้นที่เตรียมการรับเสด็จฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 25 ตุลาคม 2567
- มทส. ติดอันดับ 6 ร่วม ม.ชั้นนำของไทย อยู่ในกลุ่ม TOP 3 ม.ด้านเทคโนโลยี จากการจัดอันดับ THE World University Rankings 2025 09 ตุลาคม 2567
- มทส. คว้า 2 รางวัลผลงานนวัตกรรมเพื่อการพัฒนานักศึกษา ด้านสุขภาพจิตและด้านสุขภาวะ ในงานสัมมนาวิชาการด้านพัฒนานักศึกษา ปี 2567 01 ตุลาคม 2567
- มทส. เปิดตัว ฟาร์มไข่ผำต้นแบบระดับอุตสาหกรรม ขนาดกลางและใหญ่ ยกระดับและเพิ่มมูลค่าไข่ผำเพื่อการผลิตโปรตีนทางเลือกสู่ Super Food 18 กันยายน 2567
- มทส. รับรางวัลเชิดชูเกียรติ จากกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมลดโลกร้อน) 30 สิงหาคม 2567
- ขอเชิญศิษย์เก่า นักศึกษา บุคลากร ร่วมกิจกรรม คืนสู่เหย้า 34 ปี สายใย น้องพี่ เลือดสีแสดทอง ศิษย์ มทส. สัมพันธ์ 29 สิงหาคม 2567
- 34 ปี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พัฒนาสู่อนาคตที่ยั่งยืน Innovate the Future 26 กรกฎาคม 2567