รายงานเหตุการณ์นักศึกษาพลัดหลงในพื้นที่การฝึกภาคสนาม

รายงานเหตุการณ์นักศึกษาพลัดหลงในพื้นที่การฝึกภาคสนาม
ตามที่ปรากฏเป็นข่าวว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) 6 คน เกิดพลัดหลงในบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างการฝึกปฏิบัติสนาม เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ที่ผ่านมานั้น ทางรองศาสตราจารย์ เรืออากาศเอก ดร.กนต์ธร ชำนิประศาสน์ คณบดีสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มทส. ขอชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้
ด้วยสาขาวิศวกรรมธรณี มีการจัดการเรียนการสอนรายวิชา 538418 Geological Engineering Project ให้กับนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมธรณี ชั้นปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษามีทักษะในการสำรวจพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลของลักษณะหินและลักษณะดิน เพื่อจะนำมาใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบโครงสร้างทางวิศวกรรม เช่น การสร้างสะพาน เขื่อน อุโมงค์ เป็นต้น ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญประการหนึ่งสำหรับผู้ที่จะสำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาวิศวกรรมธรณี โดยก่อนจะถึงชั้นปีที่ 4 และออกฝึกภาคสนามจริง นักศึกษาจะผ่านการเรียนภาคทฤษฎี ฝึกหัดการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ วิธีการเก็บข้อมูล และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ในรายวิชาอื่นๆ รวมทั้งฝึกประสบการณ์การออกสำรวจป่า ที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์โดยตลอด
ทั้งนี้ นักศึกษา จำนวน 17 คน ที่ได้ลงทะเบียนเรียนรายวิชานี้ในภาคการศึกษานี้ ได้ออกปฏิบัติภาคสนาม ในพื้นที่การฝึกอุทยานแห่งชาติทับลาน อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา โดยมีอาจารย์คอยดูแล 2 ท่าน และนักศึกษาระดับปริญญาโท ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยสอนอีก 4 คน ได้ออกไปให้คำแนะนำ ซึ่งการออกปฏิบัติการนอกสนาม นักศึกษาจะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน 6 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีผู้ชายอย่างน้อย 1 คน อยู่ภายใต้การดูแลของคณาจารย์และผู้ช่วยสอน มีพื้นที่การสำรวจรอบค่ายฝึก เป็นพื้นที่ขนาด 3 ตารางกิโลเมตร โดยใช้เวลา 7 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งตามที่กฎนักศึกษาจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เช่น ห้ามปีนขึ้นเขา ห้ามโรยตัว ห้ามตัดหรือฟันต้นไม้ (เนื่องจากเป็นเขตวนอุทยาน) และนักศึกษาจะต้องเริ่มเดินทางกลับค่ายพักก่อน 15.00 น. เพื่อให้ถึงค่ายพักก่อน 17.00 น. ซึ่งเป็นเวลาที่มีแสงอาทิตย์อยู่ นักศึกษาจะได้รับแจกแผนที่ เข็มทิศ และแต่ละกลุ่มจะมีโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบที่มี GPS อยู่ในกลุ่มอย่างน้อย 1 เครื่อง เพื่อที่จะได้ทราบพิกัดของตัวเองตลอดเวลา
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีนักศึกษา 2 กลุ่ม รวมกลุ่มกันเพื่อออกสำรวจในเส้นทางเดียวกัน แต่เนื่องจากเส้นทางมีต้นไม้และกิ่งไม้มาก ในช่วงหนึ่งนักศึกษาจึงโรยตัวลงมาเพื่อเดินไปตามทางที่เป็นร่องน้ำเพื่อสะดวกในการเดิน แต่เนื่องจากความชันของพื้นที่ ทำให้นักศึกษาไม่สามารถปีนกลับขึ้นมาใช้เส้นทางเดิมได้ จนเมื่อเวลา 16.00 น. อาจารย์ได้รับโทรศัพท์จากนักศึกษาทั้ง 2 กลุ่มว่าไม่สามารถเดินทางกลับเข้าที่พักได้ จากพิกัดที่นักศึกษาให้ อยู่ห่างจากที่พักประมาณ 1.5 กิโลเมตร อาจารย์จึงแนะนำให้นักศึกษาใช้เส้นทางที่จะกลับเข้าค่ายใหม่ซึ่งง่ายกว่าเดิม แต่นักศึกษาอาจมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากการสื่อสารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ จึงทำให้ใช้เส้นทางผิดและเดินห่างออกไปอีก ต่อมาเมื่อเวลา 18.00 น. ได้รับการติดต่ออีกครั้งหนึ่ง ซึ่งอาจารย์ได้แนะนำเส้นทางที่อยู่ใกล้กับจุดที่มีกลุ่มพี่เลี้ยงอยู่ แต่ด้วยความเข้าใจคลาดเคลื่อนจึงเดินลึกเข้าไปอีก จนกระทั่งเวลา 19.00 น. อาจารย์ได้สั่งให้นักศึกษาหยุดอยู่กับที่ เพราะเป็นเวลาพลบค่ำ และทราบพิกัดที่ชัดเจนแล้ว โดยส่งกลุ่มเพื่อนและชาวบ้านเข้าไปรับ ทีมค้นหาประกอบด้วย นักศึกษา 6 คน ชาวบ้าน 7 คน ได้กำหนดเส้นทางเพื่อเดินเข้าไปรับ นักศึกษาตามที่ทราบพิกัด ซึ่งมีระยะห่างออกไป 2 กิโลเมตร แต่เนื่องจากเป็นเวลากลางคืนและเป็นพื้นที่ป่าจึงใช้ระยะเวลาประมาณ 3 ชั่วโมง จึงสามารถเข้าไปรับ นักศึกษากลุ่มนี้ออกมาได้ โดยได้พบนักศึกษาในเวลา 23.00 น.
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามกฎของการฝึกอย่างเคร่งครัดและนักศึกษาการขาดประสบการณ์และความชำนาญในพื้นที่ ทั้งนี้ สาขาวิชาวิศวกรรมธรณีได้ใช้พื้นที่การฝึกดังกล่าวในการเรียนการสอนมาเกือบ 20 ปี จึงเชื่อได้ว่า แม้จะเกิดเหตุการณ์นักศึกษาพลัดหลงจริง ทีมผู้ควบคุมการฝึกก็สามารถจะค้นหาจนพบ เพราะทราบพิกัดและมีสัญญาณติดต่อประสานกันได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ จากอดีตที่ผ่านมาไม่เคยปรากฏว่าพบนักศึกษาหลงทางและได้รับอันตรายแต่อย่างใด ทั้งนี้ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทางสาขาวิชาจะให้ความระมัดระวังและเพิ่มความเข้มงวดในการเข้าพื้นที่มากยิ่งขึ้น
ทางสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และสาขาวิชาวิศวกรรมธรณี ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทับลาน เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย ชาวบ้านในพื้นที่ ตลอดจนสื่อมวลชนที่จะให้ความสำคัญและช่วยเหลือนักศึกษาจนสามารถกลับเข้าที่พักได้โดยสวัสดิภาพ ทั้งนี้ สาขาวิศวกรรมธรณีจะใช้เหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นอุทาหรณ์ในการอบรมนักศึกษา ในการออกสำรวจในครั้งต่อๆ ไป จึงแจ้งมาให้ทราบโดยทั่วกัน
สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
- มทส. จัดงานเชิดชูเกียรติและขอบคุณ ผู้เข้ารับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และผู้รับเข็มกิตติการทองคำ พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2566 25 มีนาคม 2568
- พระราชทานปริญญาบัตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และเข็มกิตติการทองคำ 25 มีนาคม 2568
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา มทส. 25 มีนาคม 2568
- มทส. รับรางวัล “อาจารย์” และ “สถาบัน” ต้นแบบด้านการสอน รางวัลเกียรติยศระดับชาติ จาก ควอท ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 21 มีนาคม 2568
- อธิการบดี มทส. ได้รับคัดเลือกเป็นนิสิตเก่าเคมี จุฬาฯ ดีเด่น ประจำปี 2568 20 มีนาคม 2568
- มทส. ร่วมกับ สมาคมวัสดุประเทศไทย แถลงประกาศผลรางวัล “รางวัลนักวิจัยวัสดุดีเด่น รางวัลนักวิจัยวัสดุรุ่นใหม่ดีเด่น และรางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัยวัสดุ ประจำปี 2567” และการจัดประชุมวิชาการนานาชาติด้านวัสดุศาสตร์ MRS-Thailand 2025 10 มีนาคม 2568
- มทส. ติดอันดับ 9 มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำโลก โดย SCImago Institutions Rankings 2025 06 มีนาคม 2568
- มทส. เปิดตัวการประกวดนวัตกรรมเพื่อพัฒนางาน “รางวัลสุรนวัตร” ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวม 160,000 บาท 26 กุมภาพันธ์ 2568
- ขอเชิญร่วมทอดผ้าป่า มทส. ส่งต่อโอกาสเพื่อการศึกษา พร้อมรับของที่ระลึก วัตถุมงคลรุ่น “สุนทรีวาณี-คุณย่าโม” และร่วมออกโรงทาน 11 กุมภาพันธ์ 2568
- นักวิจัย มทส. รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ในงาน วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2568 03 กุมภาพันธ์ 2568