มทส. หารือความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์กับ CIAE
มทส. หารือความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์กับ CIAE
เมื่อวันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา รศ. ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) พร้อมด้วยผู้บริหาร ประกอบด้วย ศ.ดร. สันติ แม้นศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนาความเป็นสากล รศ. ดร. อนันต์ ทองระอา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาเทคโนโลยี และคณะ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมเครื่องปฏิกรณ์วิจัยแบบต่างๆ และหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาด้านฟิสิกส์นิวเคลียร์ วิศวกรรมนิวเคลียร์ และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ณ China Institute Atomic Energy (CIAE) สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมี Prof. Guotu Ke, Director of the Science and Technology Committee, Prof. Hongyi Yang, Director of Reactor Engineering Research and Design Department, Prof. Yiguo Li, Director of Miniature Neutron Research Reactor Division และคณะผู้บริหารของ CIAE ให้การต้อนรับ และบรรยายสรุปเกี่ยวกับการวิจัยด้านต่าง ๆ ของ CIAE อาทิเช่น ฟิสิกส์นิวเคลียร์ เคมีนิวเคลียร์ วิศวกรรมและเทคโนโลยีของเครื่องปฏิกรณ์ เทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาคแบบต่างๆ เภสัชรังสี และเทคโนโลยีการป้องกันรังสี ตลอดจนการประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ การขนส่งสินค้า การพัฒนาวัสดุสำหรับยานขนส่งอวกาศ พร้อมทั้งนำเยี่ยมชมเครื่องปฏิกรณ์วิจัย China Experimental Fast Reactor (CEFR) ซึ่งเป็นเครื่องปฏิกรณ์วิจัยขนาด 65 MW และสามารถประยุกต์ใช้เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ผลิตกำลังไฟฟ้าขนาด 20 MW ได้อีกด้วย เครื่องปฏิกรณ์วิจัย China Advanced Research Reactor (CARR) ขนาด 60 MW ซึ่งนำมาใช้ในการวิจัยได้หลากหลาย อาทิเช่น ฟิสิกส์นิวเคลียร์ เคมีนิวเคลียร์ การกระเจิงนิวตรอน การวิเคราะห์ธาตุโดยการอาบนิวตรอน การถ่ายภาพด้วยนิวตรอน และการผลิตไอโซโทปสำหรับทางการแพทย์เป็นต้น รวมทั้งเครื่องกำเนิดนิวตรอนขนาดเล็ก และสถานปฏิบัติการวิจัยด้านรังสีรักษาจากโบรอนจับยึดนิวตรอน (In Hospital Neutron Irradiation, IHNI) ที่มีการใช้เครื่องกำเนิดนิวตรอนขนาดเล็ก (Miniature Neutron Source Reactor, MNSR) ผลิตนิวตรอนสำหรับการรักษามะเร็งผิวหนังด้วยวิธีรังสีรักษาจากโบรอนจับยึดนิวตรอน (Boron Neutron Capture Therapy: BNCT) อีกด้วย
นอกจากการเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการด้านนิวเคลียร์ฟิสิกส์ต่าง ๆ แล้ว ผู้บริหารทั้งสองฝ่ายได้ประชุมหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการวิจัย และพัฒนา ด้านฟิสิกส์นิวเคลียร์ วิศวกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนบุคลากรวิจัย และนักศึกษา รวมทั้งการฝึกอบรม และพัฒนาบุคลากรในการเดินเครื่องกำเนิดนิวตรอนขนาดเล็กของมหาวิทยาลัย (SUT-MNSR) ซึ่งได้มีการออกแบบให้สามารถใช้งานวิจัยได้หลายหลาย อาทิเช่น การวิเคราะห์ธาตุโดยการอาบนิวตรอน โดยการออกแบบ SUT-MNSR นี้จะมีระบบในการลำเลียงนิวตรอนในแนวนอนสี่ระบบ และมีระบบลำเลียงนิวตรอนด้านล่างสำหรับวิธีรังสีรักษาจากโบรอนจับยึดนิวตรอน (BNCT) อีกด้วย เครื่องกำเนิดนิวตรอนขนาดเล็ก ที่ผลิตจาก CIAE นี้มีความปลอดภัยสูง และมีการนำไปใช้หลายแห่งในประเทศจีน เช่น ฉีหนาน เชี่ยงไฮ้ เฉินเจิ้น ซึ่งทั้งสามแห่งนี้ เครื่องปฏิกรณ์ตั้งอยู่ในชุมชนเมือง นอกจากนี้ยังมีหลายประเทศนำไปใช้ ได้แก่ ปากีสถาน กานา ไนจีเรีย ซีเรีย เป็นต้น ทั้งนี้ผู้บริหารทั้งสองฝ่ายยังได้เจรจาความร่วมมือในอนาคตเกี่ยวกับสถานวิจัยร่วมระหว่าง CIAE และ มทส. โดยใช้ห้องปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดนิวตรอนขนาดเล็ก และการจัดทำหลักสูตรทางด้านฟิสิกส์นิวเคลียร์ วิศวกรรมนิวเคลียร์ และเทคโนโลยี โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญของ CIAE มาเป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะ หรือผู้เชี่ยวชาญอาคันตุกะ ที่มาร่วมในการจัดการเรียนการสอน และร่วมเป็นที่ปรึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาโทและเอกอีกด้วย
SUT discussed academic affairs and research collaboration on nuclear technology with CIAE
On Monday 14th May 2018, Assoc.Prof.Dr. Weerapong Pairsuwan, Rector of Suranaree University of Technology (SUT) and SUT executives visited China Institute Atomic Energy (CIAE) with an aim to discuss the collaboration on the research and development of nuclear physics, nuclear engineering and nuclear technology. Prof. Guotu Ke, Director of the Science and Technology Committee, Prof. Hongyi Yang, Director of Reactor Engineering Research and Design Department, Prof. Yigio Li, Director of Miniature Neutron Research Reactor Division and other CIAE executives were present to welcome the SUT team.
CIAE executives presented the institute’s outstanding researches on nuclear physics, nuclear chemistry, nuclear engineering and nuclear reactors. Moreover, they also gave presentations on their particle accelerators, pharmaceutical rays and ray protection technologies. In addition, many applications in medicines, logistics and the development of space vehicles were also introduced.
SUT team had chance to visit China Experimental Fast Reactor (CEFR), which is a reactor of the size 65 MW, which could be made into a nuclear power plant of 20 MW. SUT members also had a chance to see a 60 MW China Advanced Research Reactor (CARR), which can be used in many research areas such as nuclear physics, nuclear chemistry, neutron scattering, material analysis by neutron irradiation, photography using neutron and isotope production for medical disciplines. Furthermore, there was an opportunity to see In Hospital Neutron Irradiation (IHNI), Miniature Neuron Source Reactor (MNSR) and Boron Neutron Capture Therapy (BNCT) for treating skin cancer.
After visiting the nuclear physics laboratories, both SUT and CIAE executives discussed collaboration on the research and development of nuclear physics, engineering and other technologies related to nuclear reactors. Staff exchange, researcher exchange, student exchange as well as training for the operation of SUT-MNSR were also discussed. SUT-MNSR has been designed for usage in many researches such as material analysis by neutron irradiation.
The SUT-MNSR was designed to have four horizontal systems to transport neutrons, with the lower transportation used for BNCT. This MNSR, produced by CIAE, provided high safety and has been used in many parts of China, such as Xinan, Shanghai and Shenzhen. In these three Chinese provinces, the nuclear reactors are located in the rural area. Other countries that have CIAE-produced nuclear reactors include Pakistan, Ghana, Nigeria and Syria.
The discussion between SUT and CIAE featured the possibility of co-developing curricula in nuclear physics, nuclear engineering and nuclear technologies. SUT has proposed the invitation to CIAE for visiting professors to take part in teaching and supervising postgraduate students.
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
- มทส. ได้รางวัล มหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ ระดับ 4 ดาว จากระบบประเมิน HURS 2023 โดย เครือข่าย AUN-HPN 26 มีนาคม 2567
- มทส. ติดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยและเอเชีย ในการจัดอันดับ Webometrics Ranking of World Universities รอบที่ 1 ปี 2024 13 กุมภาพันธ์ 2567
- มทส. ผลงานโดดเด่น เข้าชิงรางวัล THE AWARDS ASIA 2024 สาขาความเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อมและโครงการวิจัยแห่งปี 26 มกราคม 2567
- มทส. ได้รับการจัดอันดับ ม.ชั้นนำของเอเชีย โดย QS World University Rankings: Asia 2024 17 พฤศจิกายน 2566
- มทส. ติดอันดับ 2 มหาวิทยาลัยไทยที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี ในการจัดอันดับ Young University Rankings 2023 05 กรกฎาคม 2566
- มทส. อันดับ 3 ด้านเทคโนโลยี อันดับ 9 ร่วม ม.ชั้นนำของไทย จากการจัดอันดับ ม.ชั้นนำของโลก โดย QS World University Rankings 2024 03 กรกฎาคม 2566
- มทส. ร่วมการเสวนาในงาน THE Digital Universities Asia 2023 จัดโดย Times Higher Education 09 พฤษภาคม 2566
- มทส. เจ้าภาพจัดประชุมวิชาการนานาชาติ SEATUC 2023 ภายใต้แนวคิด Toward Sustainable Innovation for Future Generations 23 กุมภาพันธ์ 2566
- มทส. ต้อนรับคณะผู้เชี่ยวชาญจาก CIAE ประเทศจีน และคณะ ในโอกาสร่วมประชุมหารือการจัดทำรายงานวิเคราะห์ความปลอดภัย BNCTและหารือโครงการร่วมทุน 16 กุมภาพันธ์ 2566
- มทส. ครองอันดับ 2 ของภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอันดับ 12 ของประเทศ จากการจัดอันดับของ Webometrics Ranking of World Universities รอบที่ 1/2023 เดือนมกราคม 2566 06 กุมภาพันธ์ 2566